กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12836
ชื่อเรื่อง: | การตัดสินใจจัดฟันแฟชั่นในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา : กรณีศึกษาของโรงเรียนวัดนิมมานรดี กรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Decision-making for fashion dental braces among secondary school students: a case study at Wat Nimmanoradee school under Bangkok metropolitan administration |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อารยา ประเสริฐชัย เฉลิม อือรวมสัมพันธ์, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี ทันตกรรมจัดฟัน พฤติกรรมผู้บริโภค--การตัดสินใจ การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล และการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนวัดนิมมานรดี 2) การตัดสินใจจัดฟันแฟชั่นในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนวัดนิมมานรดี และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการกับการตัดสินใจจัดฟันแฟชั่นในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนวัดนิมมานรดี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 3 ประจำปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนวัดนิมมานรดี จำนวน 307 คน ใช้ทุกหน่วยประชากร เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบตำแหน่งของเคนคอลล์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลการเรียนเฉลี่ย 2.00 - 2.99 ผู้ปกครองของกลุ่มตัวอย่างมีรายได้เฉลี่ย 10,000 - 20,000 บาทต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยจัดฟันแฟชั่น และไม่มีคนใกล้ชิดเคยจัดฟันแฟชั่น ส่วนการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ภาพรวมอยูในระดับปานกลาง โดยพบว่าด้านการขายโดยพนักงานขาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (2) การตัดสินใจ จัดฟันแฟชั่นอยู่ในระดับปานกลาง และ (3) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ประสบการณ์จัดฟันแฟชั่นของตนเอง และประสบการณ์จัดฟันแฟชั่นของคนใกล้ชิดมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจจัดฟันแฟชั่น และการ สื่อสารการตลาดแบบบูรณาการมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจจัดฟันแฟชั่น ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ข้อเสนอแนะในการนำวิจัยไปใช้ เนื่องจากการจัดฟันแฟชั่นทำให้เกิดแต่ความเสียหายกับผู้ใส่เครื่องมือจัดฟันแฟชั่น การร่วมมือจากทุกภาคีเครือข่ายและการรณรงค์ป้ องกันไม่ให้เกิดการสื่อสารการตลาด แบบบูรณาการจากผู้ขายหรือให้บริการจัดฟันแฟชันสู่ผู้บริโภคเป็นสิ่งจำเป็น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12836 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_155669.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License