Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12837
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพาณี สีตกะลินth_TH
dc.contributor.authorโชคชัย ไกรนรา, 2519-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-09-30T06:34:18Z-
dc.date.available2024-09-30T06:34:18Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12837en_US
dc.description.abstractการวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้รับบริการที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) ระดับความคาดหวังคุณภาพบริการของผู้รับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช (3) ระดับการรับรู้คุณภาพบริการของผู้รับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช และ (4) เปรียบเทียบความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพบริการของผู้รับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากร คือ ประชาชนที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในอำเภอนาบอน จำนวน 4,601 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้ขนาดตัวอย่าง 207 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงระดับความคาดหวังเท่ากับ 0.91 และระดับการรับรู้เท่ากับ0.94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า (1) ประชาชนที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 38.73 ปี สถานภาพสมรสคู่ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. อาชีพเกษตรกรรม รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน 5,000-10,000 บาท ส่วนใหญ่เคยมารับบริการแล้ว เหตุจูงใจที่สำคัญที่สุดที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คือ มีความสะดวกในการเดินทาง (2) ประชาชนมีความคาดหวังต่อคุณภาพบริการอยู่ในระดับมาก (3) ประชาชนมีการรับรู้ต่อคุณภาพบริการอยู่ในระดับมาก และ 4) เมื่อเปรียบเทียบความคาดหวังและการรับรู้ต่อคุณภาพบริการไม่แตกต่างกัน ส่วนเหตุจูงใจที่มารับบริการ พบว่ามีความคาดหวังและการรับรู้ต่อคุณภาพบริการที่แตกต่างกันth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectบริการลูกค้าth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุขth_TH
dc.titleความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราชth_TH
dc.title.alternativeExpectations and perceptions of health service recipients toward service quality at Sub-district health promoting hospitals, Nabon district, Nakhonsithammarat Provinceth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this survey research were to: (1) study personal characteristics of health service recipients in sub-district health promoting hospitals in Nabon district; (2) examine levels of expectation on service quality; (3) examine levels of perceptions on service quality; and (4) compare differences between expectations and perceptions of recipients in sub-disrict health promoting hospitals in Nabon district, Nakorn Sri Thammarat province. The study population was 4,601 health service recipients in sub-district health promoting hospitals in Nabon district. A sample size of 207 patients was recruited by stratified random sampling method. Data collection was done by a questionnaire, with a reliability values of 0.91 for expectation and 0.94 for perception. Statistics used for data analyses were percentage, mean, standard deviation, t-test, and One-Way ANOVA. Findings were as follows: (1) most health service recipients in sub-district health promoting hospitals were female, with average age of 38.73 years old, married, finishing high school level, working as agriculturalists, and having average monthly income of 5,000-10,000 baht. Most of them have been received health services. Significant motivators for health service reception from Sub-district health promoting Hospitals were short distance and traveling convenience. (2) the expectation of the recipients on service quality was at the high level; and (3) The perception of the recipients on quality service was the a high level. and 4) A comparison of expectation and perception on health service reception in sub-district health promoting hospitals revealed significant difference.en_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_148508.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.48 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons