กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12837
ชื่อเรื่อง: ความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Expectations and perceptions of health service recipients toward service quality at Sub-district health promoting hospitals, Nabon district, Nakhonsithammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พาณี สีตกะลิน
โชคชัย ไกรนรา, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
บริการลูกค้า
การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้รับบริการที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) ระดับความคาดหวังคุณภาพบริการของผู้รับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช (3) ระดับการรับรู้คุณภาพบริการของผู้รับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช และ (4) เปรียบเทียบความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพบริการของผู้รับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากร คือ ประชาชนที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในอำเภอนาบอน จำนวน 4,601 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้ขนาดตัวอย่าง 207 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงระดับความคาดหวังเท่ากับ 0.91 และระดับการรับรู้เท่ากับ0.94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า (1) ประชาชนที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 38.73 ปี สถานภาพสมรสคู่ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. อาชีพเกษตรกรรม รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน 5,000-10,000 บาท ส่วนใหญ่เคยมารับบริการแล้ว เหตุจูงใจที่สำคัญที่สุดที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คือ มีความสะดวกในการเดินทาง (2) ประชาชนมีความคาดหวังต่อคุณภาพบริการอยู่ในระดับมาก (3) ประชาชนมีการรับรู้ต่อคุณภาพบริการอยู่ในระดับมาก และ 4) เมื่อเปรียบเทียบความคาดหวังและการรับรู้ต่อคุณภาพบริการไม่แตกต่างกัน ส่วนเหตุจูงใจที่มารับบริการ พบว่ามีความคาดหวังและการรับรู้ต่อคุณภาพบริการที่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12837
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_148508.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons