Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12839
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานของเครือข่ายเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม |
Other Titles: | Factors related to the operation of the epidemiological surveillance network in kaeng Loeng Jarn Sub-district, MahaSarakham Province |
Authors: | อารยา ประเสริฐชัย ทิพากร ดีแดง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี ระบาดวิทยา การเฝ้าระวังโรค การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการสนับสนุน ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และการปฏิบัติงานของเครือข่ายเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา และ (2) ความสัมพันธ์ของปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการสนับสนุนและปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ต่อการปฏิบัติงานของเครือข่ายเฝ้าระวัง ทางระบาดวิทยา ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ประชากรที่ศึกษาคือ เครือข่ายเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาระดับตำบล ในพื้นที่อำเภอเมือง จำนวน 2,524 คน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา จำนวน 240 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงจากเครือข่ายเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาตำบลแก่งเลิงจาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ0.926 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไค-สแควร์ สถิติทดสอบฟิชเชอร์แอคแซกท์ และสถิติวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุเฉลี่ยประมาณ 52.1 ปี สถานภาพสมรสคู่ ระดับการศึกษาสูงสุดชั้นมัธยมศึกษา อาชีพหลักเกษตรกรรม ดำรงตำแหน่งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เคยผ่านการอบรมเกี่ยวกับงานระบาควิทยา ปัจจัยด้านการสนับสนุนในการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก การปฏิบัติงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของเครือข่ายเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p <. 05) ได้แก่ การอบรมเกี่ยวกับงานระบาดวิทยา ปัจจัยด้านการสนับสนุนการปฏิบัติงาน และปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ข้อเสนอแนะของการศึกษา หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรมีการพัฒนาความรู้และทักษะของเครือข่ายเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาระดับตำบลอย่างเป็นประจำและต่อเนื่อง อีกทั้งควรสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ และจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นในการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ เพื่อให้การปฏิบัติงานของเครือข่ายเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาระดับตำบล มีประสิทธิภาพตามที่กำหนดไว้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12839 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_148760.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License