กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1283
ชื่อเรื่อง: การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยดำบ้านสะแกราย ตำบลดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Social and cultural changes of Thai Dam ethnic group in Sakaerai Village, Don Yai Hom Sub-district, Nakhon Pathom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิตรา วีรบุรีนนท์
เจริญ ศรีศศลักษณ์, 2498-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุดจิต เจนนพกาญจน์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์
กลุ่มชาติพันธุ์--ไทย
โซ่ง
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยดำบ้านสะแกราย ตำบลดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม (2) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม (3) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรม และ (4) แนวทางในการอนุรักษ์ ประเพณีและวัฒนธรรม วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน ประกอบด้วย นักวิชาการ จำนวน 4 คน ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทยดำ จำนวน 2 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 2 คน และประชากรบ้านสะแกราย จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เจาะลึกทั้งมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มชาติพันธุ์ไทยดำ บ้านสะแกราย ตำบลดอนยายหอม จังหวัดนครปฐมอพยพมาจากอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ได้ประมาณ 100 สาเหตุมาจากไม่ต้องการแก่งแย่งที่ดินทำมาหากิน (2) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นการเปลี่ยนแปลงจากสังคมปิดเป็นสังคมเปิด จากที่เคยอยู่แบบโดดเดี่ยว พัฒนาไปสู่การมีความสัมพันธ์กับประชาชนทั่วไป สืบเนื่องจากการศึกษา อาชีพและการแต่งงานนอกกลุ่ม การพัฒนาด้านต่างๆ เกิดขึ้นในช่วงหลังปี พ.ศ.2500 ซึ่งรัฐบาลประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ และมีการเปลี่ยนแปลงเห็นได้ชัด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 เป็นต้นมา เช่น เส้นทางคมนาคม การรักษาทางการแพทย์ ส่วนทางวัฒนธรรมพบว่า ในด้านประเพณี ภาษา อาชีพ และวิถีการดำรงชีวิตตลอดจนบ้านพักอาศัยก็เปลี่ยนแปลงจากแบบบ้านไทยดำดั้งเดิมมาเป็นแบบสมัยนิยมปัจจุบัน (3) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การดำรงวิถีชีวิตดั้งเดิมปรับเปลี่ยนไป มีการพัฒนาด้านต่างๆ เพื่อให้มีความสอดคล้องต่อสังคมภายนอก และทางวัฒนธรรม ไม่เกิดผลกระทบเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลง ด้านการปรับให้สอดคล้องต่อยุคสมัย แต่ยังดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมดั้งเดิม (4) แนวทางในการอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยดำ บ้านสะแกรายควรมีการสร้างจิตสำนึกให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ไทยดำบ้านสะแกราย โดยการถ่ายทอดความรู้จากผู้ที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับประเพณี วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ไทยดำดั้งเดิมอย่างถ่องแท้ และการสนับสนุนด้านการงบประมาณจากภาครัฐ เพื่อจัดกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอยางทั่วถึง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1283
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (6).pdfเอกสารฉบับเต็ม22.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons