กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12840
ชื่อเรื่อง: การรับรู้การบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยครูผู้ดูแลเด็กเล็กกับสภาวะฟันผุของเด็กเล็ก อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Perceived management factors by care takers and caries conditions of children in the child development centers in Photalae District, Phichit Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม
ธัญญาภรณ์ ใหญ่เจริญ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ-- การศึกษาเฉพาะกรณี
ทันตสุขศึกษา
ฟันผุในเด็ก
ฟัน--การดูแลและสุขวิทยา
การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยข้อมูลพื้นฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (2) การรับรู้การบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยครูผู้ดูแลเด็กเล็ก (3) สภาวะฟันผุของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยข้อมูลพื้นฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับสภาวะฟันผุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ (5) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับสภาวะฟันผุของเด็กเล็ก กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือครูผู้ดูแลเด็กเล็ก ทั้งหมด 81คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ ได้ 67 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบ และคานวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง และนำไปทดลองใช้และตรวจสอบด้านความเที่ยง ได้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นมีค่าสัมประสิทธ์ิแอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการทดสอบด้วยสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ข้อมูลพื้นฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ส่วนใหญ่อยู่ในการดูแลขององค์การ บริหารส่วนตำบล ถึงร้อยละ 80 จำนวนเด็กอยู่ในช่วง 1-50 คน ร้อยละ 75 จำนวนครู อยู่ในช่วง 1-5 คน ร้อยละ 90 งบประมาณที่ได้รับส่วนใหญ่ไม่เกิน 200,000 บาท ถึงร้อยละ 70 (2) สาหรับการรับรู้การบริหารจัดการของครูผู้ดูแลเด็ก 5 ด้าน มีการรับรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการปฏิบัติตามกิจกรรมมีค่ามากที่สุด รองลงมาคือด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านการประเมินผล ด้านกำลังคน ด้านทรัพยากร/งบประมาณ ตามลำดับ (3) สภาวะฟันผุของเด็กเล็ก พบว่า มีเด็กที่มีฟันน้ำนมผุทั้งหมด 281 คน คิดเป็นร้อยละ 44.32 (4) ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยข้อมูลพื้นฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเรื่องสังกัด จำนวนเด็ก จำนวนครู และงบประมาณกับสภาวะฟันผุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ (5) ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยครูผู้ดูแลเด็กเล็กในด้านกาลังคน ด้านทรัพยากร/งบประมาณด้านการปฏิบัติกิจกรรม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12840
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_161355.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons