Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12843
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรางคณา จันทร์คงth_TH
dc.contributor.authorนันทิพา พันแพง, 2524-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-09-30T07:17:26Z-
dc.date.available2024-09-30T07:17:26Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12843en_US
dc.description.abstractการวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุตรดิตถ์ (2) ระดับความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 (3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้และทัศนคติ กับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และ (4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 158 คน โดยเก็บทุกหน่วยประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าอำนาจจำแนกในด้านความรู้และการปฏิบัติ เป็นรายข้ออยู่ระหว่าง 0.2-0.8 และมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ 0.70 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์คราเมอร์วี ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุตรดิตถ์ มีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 อยู่ในระดับสูง (2) บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุตรดิตถ์ มีความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ในระดับปานกลางและสูง ตามลำดับ (3) คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษา ตำแหน่งปัจจุบัน มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ในระดับน้อย และปานกลาง ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความรู้ ทัศนคติ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนอายุและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และ(4) ปัญหา และอุปสรรคในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 คือ ไม่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาติดตามการดำเนินงาน รวมทั้งการขาดประชาสัมพันธ์การบังคับใช้ข้อกำหนดท้องถิ่นในพื้นที่โดยมีข้อเสนอแนะคือ ควรมีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติให้เป็นรูปแบบแนวทางเดียวกันทั้งจังหวัด และการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงการบังคับใช้ข้อกำหนดท้องถิ่นในพื้นที่อย่างทั่วถึงth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น--ไทย--อุตรดิตถ์--ข้าราชการและพนักงาน--ทัศนคติth_TH
dc.titleความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุตรดิตถ์th_TH
dc.title.alternativeKnowledge, attitudes, and compliance with the Public Health Act, B.E.2535 of Public Health Personnel of Local Administrative Organizations in Uttaradit Provinceth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis survey research aimed to study: (1) compliance with the Public Health Act, B.E.2535 of public health personnel in the local administrative organizations in Uttaradit province; (2) knowledge and attitudes toward the Public Health Act, B.E.2535; (3) relationship of personal factors, knowledge and attitudes, and compliance with the Public Health Act, B.E.2535; and (4) problems and obstacles, and recommendations in practice in compliance with the Public Health Act, B.E.2535. The populations used in this study were 158 personnel of public health personnel in the local administrative organizations in Uttaradit province, recruited from all population units. The questionnaire, of item discrimination indexes on knowledge and practice between 0.2- 0.8, and a reliability value of 0.70 was used for data collection. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, Pearson correlation, Chi-Square Test, and Cramer's V. The research findings were as follows: (1) public health personnel in the local administrative organizations in Uttaradit province complied with the Public Health Act, B.E.2535 at the high level; (2) public health personnel in the local administrative organizations in Uttaradit province had knowledge and attitudes towards the Public Health Act, B.E.2535 in the moderate and high levels; (3) personal characteristics: educational level and current position, were related to the compliance with the Public Health Act, B.E.2535 in the low and moderate levels, at the statistical significance of 0.05, and knowledge and attitudes were positively related to the compliance with the Public Health Act, B.E.2535 in the low level at the statistical significance of .001. Meanwhile, age and working period were not related to the compliance with the Public Health Act, B.E.2535; and (4) for the problems and obstacles for the compliance with the Public Health Act, B.E.2535 were that no any related agency to follow up the operation, and lack of public relations and enforcement of local bylaws. The study recommends that whole province should follow up and evaluate the performance in the same direction and should thoroughly publicize the enforcement of local bylaws.en_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_148100.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.75 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons