กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12843
ชื่อเรื่อง: | ความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุตรดิตถ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Knowledge, attitudes, and compliance with the Public Health Act, B.E.2535 of Public Health Personnel of Local Administrative Organizations in Uttaradit Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรางคณา จันทร์คง นันทิพา พันแพง, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น--ไทย--อุตรดิตถ์--ข้าราชการและพนักงาน--ทัศนคติ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุตรดิตถ์ (2) ระดับความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 (3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้และทัศนคติ กับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และ (4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 158 คน โดยเก็บทุกหน่วยประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าอำนาจจำแนกในด้านความรู้และการปฏิบัติ เป็นรายข้ออยู่ระหว่าง 0.2-0.8 และมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ 0.70 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์คราเมอร์วี ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุตรดิตถ์ มีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 อยู่ในระดับสูง (2) บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุตรดิตถ์ มีความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ในระดับปานกลางและสูง ตามลำดับ (3) คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษา ตำแหน่งปัจจุบัน มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ในระดับน้อย และปานกลาง ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความรู้ ทัศนคติ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนอายุและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และ(4) ปัญหา และอุปสรรคในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 คือ ไม่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาติดตามการดำเนินงาน รวมทั้งการขาดประชาสัมพันธ์การบังคับใช้ข้อกำหนดท้องถิ่นในพื้นที่โดยมีข้อเสนอแนะคือ ควรมีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติให้เป็นรูปแบบแนวทางเดียวกันทั้งจังหวัด และการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงการบังคับใช้ข้อกำหนดท้องถิ่นในพื้นที่อย่างทั่วถึง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12843 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_148100.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.75 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License