Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12844
Title: คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง
Other Titles: Quality of life of seniors in Suksamran District, Ranong Province
Authors: วรางคณา จันทร์คง
นัสรียา สือมะ, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้ป่วยเบาหวาน -- การดูแล -- คู่มือ
การศึกษาอิสระ -- บริหารสาธารณสุข
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยด้านบุคคลและการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง (2) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล และการเห็นคุณค่าในตนเองกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง และ (4) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง ประชากรที่ศึกษาเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 1,127 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง จำนวน 287 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเห็นคุณค่าในตนเอง มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์แบบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 69.60 ปี มีสถานภาพสมรสคู่ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 3,788.85 บาท มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และไม่ได้เป็นสมาชิกชมรม ส่วนการเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับสูง (2) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง โดยคุณภาพชีวิตด้านจิตใจอยู่ในระดับดี ส่วนด้านร่างกาย ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง (3) เพศ สถานภาพสมรส ภาวะสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ แต่ระดับการศึกษา และการเป็นสมาชิกชมรมไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุส่วนอายุมีความสัมพันธ์เชิงลบในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ รายได้มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และการเห็นคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และ (4) ผู้สูงอายุได้เสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้านสุขภาพกาย ได้แก่ ออกกำลังกายเล็กๆน้อยๆ ด้านสุขภาพจิต ได้แก่ การไม่เครียด ด้านสังคม ได้แก่ การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านให้น่าอยู่
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12844
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_148516.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.65 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons