Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12849
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดร้อยเอ็ด
Other Titles: Factors affecting the functional competencies of public health technical officers at professional level at Sub-district Health Promoting Hospitals in Roi Et Province
Authors: ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์
ปทุมทิพย์ สุ่มมาตย์, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข -- การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล -- ไทย -- ร้อยเอ็ด
สมรรถนะ
การศึกษาอิสระ -- บริหารสาธารณสุข
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล และการเสริมพลังอำนาจในงาน (2)ระดับสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุข (3) ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดร้อยเอ็ด และ (4) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขตำบล ในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 245 คน คำนวณตัวอย่างได้ จำนวน 153 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ บบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 47.79 ปีสถานภาพสมรสคู่ จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ได้รับเงินเดือนเฉลี่ย 37,905.03 บาทต่อเดือน ระยะเวลาการปฏิบัติงานในตำแหน่งเฉลี่ย 8.63 ปี การเสริมพลังอำนาจในงานภาพรวม และรายด้าน การได้รับข้อมูลข่าวสาร การได้รับการสนับสนุน และการได้รับโอกาส อยู่ระดับสูง ยกเว้น ด้านการได้รับทรัพยากรอยู่ระดับปานกลาง (2) สมรรถนะประจำกลุ่มงาน ในภาพรวมและรายด้านทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การดำเนินงานเชิงรุก และการใส่ใจและพัฒนาผู้อื่น อยู่ระดับสูง (3) ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือปัจจัยการเสริมพลังอำนาจในงานด้านการได้รับโอกาสและด้านการได้รับข้อมูลข่าวสาร (p= 0.000, 0.002 ตามลำดับ) โดยมีอำนาจการทำนายร้อยละ 35.0 และ(4) ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่สำคัญ คือ เจ้าหน้าที่ขาดทักษะเรื่องการคิดวิเคราะห์ ข้อเสนอแนะ คือ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการควรพัฒนาบุคลากรในด้านเทคนิคและทักษะในการคิดเชิงระบบสามารถเชื่อมโยงสถานการณ์ได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12849
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_154877.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.22 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons