Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1284
Title: การใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้
Other Titles: The use of electronic databases by lecturers and graduate students in faculty of education, Rajabhat Universities in the Southern Region
Authors: น้ำทิพย์ วิภาวิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภัททิรา โทนแก้ว, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ--การศึกษาการใช้.--ไทย (ภาคใต้)--ฐานข้อมูล
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการใชฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารยและ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาคณะครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้ (2) เปรียบเทียบการใช้ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาคณะครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้ และ (3) ศึกษาปัญหาการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาคณะครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นอาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาคณะครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้ประจำปีการศึกษา 2557 จํานวน 1,727 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 316 คน เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท จํานวน 253 คน (ร้อยละ 80.00) รองลงมา เป็นอาจารย์จํานวน 52 คน (ร้อยละ 16.50) และนักศึกษาระดับปริญญาเอก จํานวน 11 คน (ร้อยละ 3.50) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติทีใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe ผลการวิจัยพบว่า (1) อาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาคณะครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้มีการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมอยู่ในระดับนัอย ( x =1.88) มีเพียง 2 ฐานข้อมูลที่มีสภาพการใช้ในระดับมากได้แก่ Education Research Complete ( x =3.64) และ ProQuest Dissertations & Theses ( x =3.57) (2) เปรียบเทียบการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์ และนักศึกษาจําแนกตามเพศและอายุพบว่ามีการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไม่แตกต่างกัน ส่วนการจำแนกตามอายุพบว่า ช่วงอายุตํ่ากว่า 41 ปีแตกต่างกับช่วงอายุ 41-50 ปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจําแนกตามสาขาวิชา พบว่า สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาแตกต่างกับสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาปฐมวัย สาขาวิชายุทธศาสตร์การวิจัย สาขาวิชาภาวะผู้นําการจัดการศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา และสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ (3) ปัญหาการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางได้ แก่ด้านการไม่รู้จักชื่อวารสารที่ตรงกับความต้องการ ( x = 3.55) และไม่ทราบว่าวารสารนั้นอยู่ในฐานข้อมูลใด ( x = 3.53)
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1284
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (7).pdfเอกสารฉบับเต็ม12.65 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons