กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12853
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงานของทีมหมอครอบครัวเพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting administration of family care teams for osteoarthritis patient care in Nakhon Sawan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีระวุธ ธรรมกุล
ปัญญา จันทร์โต, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ข้อเข่า--โรค--การรักษา
ผู้ป่วย--การดูแล
การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การบริหารงานของทีมหมอครอบครัว (2) ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และ (3) การมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานภาคีเครือข่าย และ (4) อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ การมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่มีผลต่อการบริหารงานของทีมหมอครอบครัวเพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคข้อเข่า เสื่อมในจังหวัดนครสวรรค์ ประชากรคือทีมหมอครอบครัวที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในจังหวัดนครสวรรค์ ทั้งหมด จำนวน 600 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 120 คน จากการคำนวณขนาดตัวอย่าง โดยใช้โปรแกรม จีสตาร์พาวเวอร์ 3.1 และใช้การสุ่มอย่างง่าย โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงด้านความรู้ในเรื่องการดูแลผู้ป่วยเท่ากับ 0.67 ด้านทัศนคติต่อการบริหารงานของทีมหมอครอบครัว มีค่าเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารงานของทีมหมอครอบครัว ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (2) ส่วนใหญ่อยู่ในตำแหน่งผู้ปฏิบัติ ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วย อยู่ในระดับดี ทัศนคติต่อการบริหารงานของทีมหมอครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง (3) การมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานภาคีเครือข่าย ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง และ (4) หลังจากควบคุมตัวแปรที่มีอิทธิพลร่วม พบว่า กลุ่มอายุ 30-39 ปี สถานภาพโสด ทัศนคติการบริหารงานของทีมหมอครอบครัว และการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานภาคีเครือข่าย มีอิทธิพลต่อการบริหารงานของทีมหมอครอบครัวเพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยสามารถอธิบายการบริหารงานของทีมหมอครอบครัวเพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้ร้อยละ 78.10
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12853
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_161354.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons