กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12854
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชนในจังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to perception about rabies of people in Uttaradit Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา จันทร์คง
ปาริชาต เมืองเอก, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
โรคพิษสุนัขบ้า
การรับรู้
การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสังคมจิตวิทยา ความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า สิ่งชักนำสู่การปฏิบัติในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และการรับรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชนในจังหวัดอุตรดิตถ์ และ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสังคมจิตวิทยา ความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า และสิ่งชักนำสู่การปฏิบัติในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า กับการรับรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชนในจังหวัดอุตรดิตถ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 458,197 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 362 คน ได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่มีความเที่ยง 0.925 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไค-สแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 40.39 ปี ระดับการศึกษาสูงสุด มัธยมศึกษาร้อยละ 35.6 รองลงมา คือ ปริญญาตรี ร้อยละ 28.5 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 24.0 รองลงมา คือเกษตรกรรม และรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 21.3 เท่ากัน มีสถานภาพสมรส สมรส รายได้ครอบครัวในแต่ละเดือนอยู่ระหว่างน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท เลี้ยงสุนัขหรือแมว จำนวน 1 ตัว ไม่เคยถูกสุนัขและแมวกัด กลุ่มที่เคยถูกกัด ถูกกัดเพียง 1 ครั้ง บุคลิกภาพส่วนใหญ่มีมนุษยสัมพันธ์ดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ไม่มีตำแหน่งทางสังคมในชุมชน ครอบครัวมีส่วนชักจูงให้ทำกิจกรรมมากที่สุด และค่านิยมทางวัฒนธรรมที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่ามีผลทำให้การป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชน ประสบความสำเร็จมากที่สุด คือ ความสามัคคีในชุมชน ความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า มีค่าเฉลี่ยความรู้อยู่ในระดับต่ำ และสิ่งชักนำสู่การปฏิบัติในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ส่วนการรับรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า โดยรวมอยู่ในระดับสูง และ (2) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และระดับการศึกษาสูงสุด มีความสัมพันธ์กับการรับรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า ปัจจัยด้านสังคมจิตวิทยา ได้แก่ บุคลิกภาพ และตำแหน่งทางสังคมในชุมชนมีความสัมพันธ์กับการรับรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า ความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและสิ่งชักนำสู่การปฏิบัติในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามีความสัมพันธ์กับการรับรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า เช่นกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12854
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_154925.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons