กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12858
ชื่อเรื่อง: | ความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต่อการจัดการด้านการเงินของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตจังหวัดอุดรธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Opinions of directors of Tambon Health Promoting Hospitals about financial management under universal health coverage policy in Udon Thani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมโภช รติโอฬาร พีระพงษ์ บัวเกษ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล--ไทย--อุดรธานี--การเงิน การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและประเภทของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเขตจังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาความคิดเห็นการจัดการด้านการเงินของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเขตจังหวัดอุดรธานี และ 3) วิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นการจัดการด้านการเงินของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเขตจังหวัดอุดรธานี ตามปัจจัยส่วนบุคคลและประเภทของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี หรือผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุดรธานีจำนวน 136 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับฉลาก เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าดัชนีความตรง .66-1.00 ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ทั้งฉบับได้ .92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบซ้ำด้วยวิธีเชฟเฟ่ ที่ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65 มีอายุเฉลี่ย 42.51 ปี (S.D .= 8.26) สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 74.30 ระดับการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี ร้อยละ 39.10 ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งมากที่สุดในช่วง 16 -30 ปี ร้อยละ 46.15 (S.D .= 6.55) มีรายได้รวมต่อเดือนอยู่ระหว่าง 32,001-40,000 บาท ร้อยละ 37.50 (S.D .= 7,710.83) เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเดียวมากที่สุด ร้อยละ 52.20 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ส่วนใหญ่มีขนาดประชากรรับผิดชอบอยู่ในช่วง 3,001 ถึง 7,000 คน ร้อยละ 47.79 มีจำนวนบุคลากรมากที่สุดอยู่ในช่วง 12 ถึง 16 คน คิดเป็นร้อยละ 46.15 (S.D .= 2.91) ค่าความเสี่ยงทางการเงิน Risk Score = 0 คิดเป็นร้อยละ 43.38 2) ความคิดเห็นต่อการจัดการการเงินค่าเฉลี่ยคะแนนรวมทุกด้าน (X =3.46, S.D. = 0.51) และความคิดเห็นรายด้านแต่ละด้านทั้ง 4 ด้าน โดยความคิดเห็นด้านการวางแผนทางการเงินสูงที่สุด (X =3.64, S.D .= 0.60) รองลงมาคือ การจัดหาเงินและรายรับสถานบริการ (X=3.54, S.D .= 0.59) ด้านการจัดสรรเงินทุนและรายจ่ายสถานบริการ (X=3.33,S.D .= 0.59) และ ด้านการควบคุมทางการเงิน (X =3.32, S.D .= 0.65) และ 3) ความคิดเห็นการจัดการด้านการเงินของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่พบว่ามีความแตกต่างกัน ได้แก่ เพศ มีความแตกต่างกันในด้านการจัดการค่าใช้จ่ายอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ และประเภทของโรงพยาบาล มีความแตกต่างของการจัดการด้านการเงินในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12858 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_153836.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.76 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License