กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12865
ชื่อเรื่อง: ผลการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effectiveness of Migrant health volunteers' potential development in health promotion and disease prevention in Pathum Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา จันทร์คง
วนัสนันท์ จันทะนะ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
อาสาสมัครสาธารณสุข
การส่งเสริมสุขภาพ
คนต่างด้าว--สุขภาพและอนามัย--ไทย--ปทุมธานี
การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของอาสาสมัครต่างด้าว จังหวัดปทุมธานี (2) การรับรู้บทบาทหน้าที่ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ความรู้พื้นฐานเรื่องสิทธิประโยชน์ของบัตรประกันสุขภาพต่างด้าว โรคติดต่อและการป้องกัน การรักษาและการส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครต่างด้าว ก่อนและหลังการเข้าร่วมการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (3) การเปรียบเทียบการรับรู้บทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครต่างด้าว ความรู้พื้นฐานเรื่องสิทธิประโยชน์ของบัตรประกันสุขภาพต่างด้าว การรักษาและการส่งเสริมสุขภาพ โรคติดต่อและการป้องกัน ก่อนและหลังการเข้าร่วมการพัฒนา และ (4) ประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว สาธารณสุขต่างด้าวในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จังหวัดปทุมธานี ทุกคน จำนวน 70 คน ดำเนินการพัฒนาโดยประยุกต์หลักสูตรจากคู่มือการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวของกระทรวงสาธารณสุขแล้ว เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการพัฒนา โดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ และการทดสอบแบบจับคู่ ผลการวิจัยพบว่า (1) อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 28.99 ปี และมีสัญชาติพม่า การศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างบริษัท (2) การรับรู้บทบาทหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว มีความรู้เรื่องสิทธิประโยชน์ของบัตรประกันสุขภาพต่างด้าว โรคติดต่อและการป้องกัน การรักษาและการส่งเสริมสุขภาพ ก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลางและหลังการพัฒนาในระดับสูง (3) หลังการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวมีการรับรู้บทบาทหน้าที่ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ความรู้พื้นฐานเรื่องสิทธิประโยชน์ของบัตรประกันสุขภาพต่างด้าว โรคติดต่อและการป้องกัน การรักษาและการส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครต่างด้าวเพิ่มขึ้น และ (4) อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาโดยภาพรวมในระดับสูง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12865
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_146057.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons