Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12873
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางพลับ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
Other Titles: Factors associated with the performance of health insurance fund at Bang Phlap Municipality in Pak Kret District, Nonthaburi Province
Authors: อารยา ประเสริฐชัย
ศศิธร ธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางพลับ- การบริหาร
การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของสมาชิกกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ (2) การรับรู้ประโยชน์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ (3) การมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน (4) การบริหารจัดการกองทุน (5) ผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางพลับ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และ (6) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ สมาชิกกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางพลับ จำนวน 135 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคมีค่าระหว่าง 0.78-0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน ผลการศึกษาพบว่า (1) สมาชิกกองทุนหลักประกันสุขภาพส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับประถมศึกษา และประกอบอาชีพผู้ใช้แรงงาน/รับจ้างทั่วไป (2) ส่วนใหญ่มีการรับรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ อยู่ในระดับมาก (3) การมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก (4) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพอยู่ในระดับมาก (5) ผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพอยู่ในระดับมาก และ(6) การรับรู้ประโยชน์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนปัจจัยด้านการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย คือ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางพลับควรมีการพัฒนาด้านการประสานงาน ผ่านเวทีประชาคมของหมู่บ้านเพื่อให้สมาชิกกองทุนหลักประกันสุขภาพได้รับรู้และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้นและตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12873
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_148460.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.53 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons