Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12874
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารยา ประเสริฐชัยth_TH
dc.contributor.authorศศิลักษณ์ ปิยะสุวรรณ์th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-10-01T05:00:07Z-
dc.date.available2024-10-01T05:00:07Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12874en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลส่วนบุคคลและกระบวนการบริหารงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดน่าน (2) การเฝ้าระวังและการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล และกระบวนการบริหารงานกับการเฝ้าระวังและการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดน่าน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 124 คน ใช้ทุกหน่วยประชากร เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยง 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด การทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 41.77 ปี มีสถานภาพคู่ คิดเป็นร้อยละ 66.9 การศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 75.8 โดยเฉลี่ยมีระยะเวลา การทำงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เท่ากับ 9.85 ปี ภาพรวมกระบวนการบริหารงานอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.62 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการอำนวยการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3.86 และด้านการงบประมาณมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3.14 (2) ภาพรวมระดับการเฝ้าระวังและการจัดการความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ อยู่ในระดับสูงมีค่าเฉลี่ย 3.83 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสื่อสารความเสี่ยง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3.89 และด้านการจัดการความเสี่ยง มีค่าเฉลี่ย ต่ำสุด 3.73 และ (3) กระบวนการบริหารงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมากที่สุดกับการเฝ้าระวังและการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดน่าน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงสุด คือ ด้านการประสานงาน และด้านที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำสุด คือ ด้านการงบประมาณ ข้อเสนอแนะในการนำวิจัยไปใช้ควรมีการสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ องค์ความรู้ ร่วมกันในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อให้การดำเนินงานเฝ้าระวังและการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล--ไทย--น่าน--การบริหารth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์สุขภาพ--การบริหารความเสี่ยงth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุขth_TH
dc.titleการเฝ้าระวังและการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดน่านth_TH
dc.title.alternativeSurveillance and risk management of health products among public health officers at Sub-district Health Promoting Hospitals in Nan Provinceth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this descriptive survey research were: (1) to identify personal data and administrative processes; (2) to determine levels of surveillance and risk management of health products; and (3) to determine the relationship between personal data, administrative processes and surveillance and risk management of health products, all involving public health officers at sub-district or tambon health promoting hospital in Nan province. The study was conducted in all 124 public health officers who were responsible for public health consumer protection at sub-district health promoting hospitals in the province. Data were collected using a questionnaire with the reliability value of 0.94. The statistics used in the data analysis were percentage, mean, standard deviation, maximum and minimum values, chi-square test and Pearson product-moment correlation coefficient. The results showed that: (1) among all respondents or public health officers, most of them were female with an average age of 41.77 years; 66.9% were married; 75.8% had completed a bachelor's degree; on average, they had 9.85 years of experience in health consumer protection; the overall administrative process was at a moderate level with a score of 3.62 (highest at 3.86 for directing and lowest at 3.14 for budgeting); (2) the level of overall surveillance and risk management of health products was high at 3.83 (highest at 3.89 for risk communication and lowest at 3.73 for risk management); and (3) the overall administrative process was positively and significantly related to the overall surveillance and risk management of health products among public health officers who were responsible for health consumer protection in the hospitals (p= 0.01); the highest level for coordination and the lowest level for budgeting. It is thus recommended that actions should be supported for the sharing of knowledge and experiences in sub-district health promoting hospitals so that the surveillance and risk management actions for health products will be undertaken in a more efficient manner.en_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_154910.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.4 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons