กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12874
ชื่อเรื่อง: | การเฝ้าระวังและการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดน่าน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Surveillance and risk management of health products among public health officers at Sub-district Health Promoting Hospitals in Nan Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อารยา ประเสริฐชัย ศศิลักษณ์ ปิยะสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล--ไทย--น่าน--การบริหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ--การบริหารความเสี่ยง การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลส่วนบุคคลและกระบวนการบริหารงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดน่าน (2) การเฝ้าระวังและการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล และกระบวนการบริหารงานกับการเฝ้าระวังและการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดน่าน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 124 คน ใช้ทุกหน่วยประชากร เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยง 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด การทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 41.77 ปี มีสถานภาพคู่ คิดเป็นร้อยละ 66.9 การศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 75.8 โดยเฉลี่ยมีระยะเวลา การทำงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เท่ากับ 9.85 ปี ภาพรวมกระบวนการบริหารงานอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.62 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการอำนวยการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3.86 และด้านการงบประมาณมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3.14 (2) ภาพรวมระดับการเฝ้าระวังและการจัดการความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ อยู่ในระดับสูงมีค่าเฉลี่ย 3.83 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสื่อสารความเสี่ยง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3.89 และด้านการจัดการความเสี่ยง มีค่าเฉลี่ย ต่ำสุด 3.73 และ (3) กระบวนการบริหารงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมากที่สุดกับการเฝ้าระวังและการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดน่าน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงสุด คือ ด้านการประสานงาน และด้านที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำสุด คือ ด้านการงบประมาณ ข้อเสนอแนะในการนำวิจัยไปใช้ควรมีการสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ องค์ความรู้ ร่วมกันในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อให้การดำเนินงานเฝ้าระวังและการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12874 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_154910.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.4 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License