กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12878
ชื่อเรื่อง: | การกำจัดตะกั่วจากน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้ถ่านกัมมันต์จากไมยราบยักษ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Lead removal from synthetic wastewater using Minosa pigra-Based activated carbon |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศริศักดิ์ สุนทรไชย อังกูร กองแสง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี น้ำเสีย--การบำบัด--การกำจัดตะกั่ว การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา (1) ประสิทธิภาพในการกำจัดตะกั่วจากน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยกระบวนการดูดติดผิวโดยใช้ถ่านกัมมันต์ที่ผลิตจากไมยราบยักษ์ และ (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดูดติดผิวตะกั่วจากน้ำเสียสังเคราะห์ของถ่านกัมมันต์ที่ผลิตจากไมยราบยักษ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยทำการศึกษาการกำจัดตะกั่วจากน้ำเสียสังเคราะห์โดยการใช้ถ่านกัมมันต์จากไมยราบยักษ์ที่มีโซเดียมคลอไรด์เป็นตัวกระตุ้น ออกแบบการทดลองแบบทีละเท ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย 6 หลัก ได้แก่ อุณหภูมิในการเผา (500-700 องศาเซลเซียส) อัตราส่วนโดยน้ำหนักของสารกระตุ้นต่อถ่านกัมมันต์ (1:0 - 1:2) ความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้น (2-9) ระยะเวลา การสัมผัสของถ่านกัมมันต์ (5-120 นาที) ปริมาณถ่านกัมมันต์ (0.05-0.20 กรัมต่อความเข้มข้นตะกั่ว 7.89 มิลลิกรัมต่อลิตร) และความเข้มข้นของสารตะกั่ว (1-20 มิลลิกรัมต่อลิตร) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ความแปรปรวน จากผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิภาพในการกำจัดตะกั่วจากน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยกระบวนการดูดติดผิวโดยใช้ถ่านกัมมันต์ที่ผลิตจากไมยราบยักษ์ ร้อยละ 84-93 และ (2) ปัจจัยทั้ง 6 ที่เกี่ยวข้องมีผลต่อการดูดติดผิวตะกั่วจากน้า เสียสังเคราะห์ของถ่านกัมมันต์ที่ผลิตจากไมยราบยักษ์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) อุณหภูมิที่ใช้ในการเผาที่มีค่าไอโอดีนนัมเบอร์สูงที่สุด เท่ากับ 700 องศาเซลเซียส และอัตราส่วนที่เหมาะสมในการใช้โซเดียมคลอไรด์เป็นตัวกระตุ้นเท่ากับ1:1 มีค่าไอโอดีนนัมเบอร์เฉลี่ยสูงที่สุดร้อยละ 542.15 มิลลิกรัมต่อกรัม ความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้นที่เหมาะสมในการกา จัดตะกั่วเท่ากับ 9 เวลาที่สัมผัสที่เหมาะสมต่อการดูดติดผิวตะกั่วเท่ากับ 120 นาที มีประสิทธิภาพในการดูดติดผิวเท่ากับ ร้อยละ 90.20 ซึ่งปริมาณถ่านกัมมันต์จากต้นไมยราบยักษ์ ที่เหมาะสมต่อการดูดติดผิวตะกั่วเท่ากับ 0.20 กรัม ด้วยประสิทธิภาพการกำจัดตะกั่ว ร้อยละ 91.88และความเข้มข้นตะกั่วในน้ำเสียหลังผ่านการดูดติดจากถ่านกัมมันต์จากต้นไมยราบยักษ์เท่ากับ 10 มิลลิกรัมต่อลิตร ร้อยละการกำจัด 92.80 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12878 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_150597.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.25 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License