กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12882
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของหัวหน้าในกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน เขตภาคใต้ตอนล่าง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Servant leadership behavior of supervisors in nursing department, community hospitals, lower Southern Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศุลีพร เพชรเรียง, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำใฝ่บริการ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของพฤติกรรมภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ และ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ ตามขนาดโรงพยาบาล ระยะเวลาการเป็นหัวหน้ากลุ่มงาน ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส ของหัวหน้าในกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคใต้ตอนล่าง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานตำแหน่งหัวหน้าในกลุ่มการพยาบาล ได้แก่ หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล หัวหน้างานการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน หัวหน้างานการพยาบาลป่วยนอก หัวหน้างานการพยาบาลผู้ป่วยใน และหัวหน้างานการพยาบาลห้องคลอด/ห้องผ่าตัด ในโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคใต้ตอนล่าง จำนวน 154 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) พฤติกรรมภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของหัวหน้าในกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคใต้ตอนล่าง พัฒนาตามแนวคิดของกรีนลีฟ และสเบียร์ และลอเร็นซ์ ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ การรับฟัง การมีความรู้สึกร่วม การเยียวยารักษา การตระหนักรู้ การโน้มน้าวใจ การมองการณ์ไกล และการสร้างชุมชน ด้านละ 5 ข้อ รวมทั้งสิ้น 35 ข้อ หาความเที่ยงตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน มีค่า IOC ระหว่าง .67 - 1.00 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.943 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย โดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบที และเอฟ ทดสอบรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของหัวหน้าในกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคใต้ตอนล่างในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.05, SD= 0.41) 2) หัวหน้าในกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน เขตภาคใต้ตอนล่างที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลที่มีขนาดและอายุต่างกัน มีพฤติกรรมภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับระดับการศึกษาและสถานภาพสมรสของไม่แตกต่างกัน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12882
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons