Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12887
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorจรินพงษ์ แดงจิ๋ว, 2522--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-10-04T08:53:52Z-
dc.date.available2024-10-04T08:53:52Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12887-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม.(บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพร้อมของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินในการเปลี่ยนแปลงไปสู่องค์กรดิจิทัล 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินในการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรดิจิทัล และ 3) เสนอแนวทางการเสริมสร้างความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสู่องค์กรดิจิทัล การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรได้แก่ ข้าราชการของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จำนวน 3,106 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ข้าราชการของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน จำนวน 355 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ และ 2) ผู้บริหารและผู้อำนวยการสำนัก ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย สรุปตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ 1) ระดับความพร้อมด้านดิจิทัลของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พบว่า ระดับความพร้อมของส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และในภาพรวม มีความพร้อมระดับ 3 หรือระดับกำหนดชัดเจน หมายถึง ลักษณะองค์กรที่ใช้ข้อมูลเป็นศูนย์กลางเพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูล โดยมีความพร้อมด้านการบริหารจัดการรูปแบบองค์กรดิจิทัลมากที่สุด และมีความพร้อมด้านศักยภาพเจ้าหน้าที่ภาครัฐดิจิทัลน้อยที่สุด 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมด้านดิจิทัลของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ในภาพรวม ได้แก่ ปัจจัยด้านธรรมาภิบาล กฎหมาย และกฎระเบียบ ปัจจัยด้านโครงสร้างและการทำงาน และปัจจัยด้านเป้าหมายและศักยภาพองค์กร ตามลำดับ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ประสิทธิภาพการทำนายเท่ากับ 75.10 และ 3) แนวทางการเสริมสร้างความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสู่องค์กรดิจิทัล ได้แก่ การมีนโยบาย กฎระเบียบ คู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจนรองรับการทำงานด้านดิจิทัล การปรับปรุง กฎระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการทำงานด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล การจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมด้านดิจิทัลให้ครอบคลุมกับเจ้าหน้าที่ทุกตำแหน่ง ทุกระดับอย่างเป็นระบบ และการสรรหาบุคลากรด้านเทคโนโลยีเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน--การบริหารth_TH
dc.subjectการพัฒนาองค์การth_TH
dc.titleความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสู่องค์กรดิจิทัลth_TH
dc.title.alternativeTransformation readiness of State Audit Office of the Kingdom of Thailand for Digital Organizationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to 1) study level of transformation readiness toward a digital organization of State Audit Office of the Kingdom of Thailand, 2) analyze factors affecting transformation readiness toward a digital organization of State Audit Office of the Kingdom of Thailand, and 3) provide suggestions to enforce transformation readiness to a digital organization of State Audit Office of the Kingdom of Thailand transform. This research was a quantitative research and qualitative research. The population of this study was 3,106 government officials of State Audit Office of the Kingdom of Thailand (SAO) who were divided into two groups. 1) The first group was officials from Central administration and provincial administration which samples were calculated by Taro Yamane formula as a total of 355 samples, using proportional stratified random sampling method. A research instrument used was a questionnaire and data was analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and multiple regression analysis. 2) Director-General and Deputy Director-General and Directors of SAO who involved duty of digital technology were selected by purposive sampling for 12 persons. An instrument used was a semi-structured interview and data was analyzed by content analysis. The results showed that 1) the level of transformation readiness of SAO at Central administration and provincial administration and overall was at Level 3 - Defined (Data-Centric): that means an organization used and utilized central open data. Result of readiness of Smart Back Office was at the highest level but readiness of digital capabilities was at the lowest. 2) Factor affecting overall transformation readiness of SAO (Y) including Governance, Risk, and Compliance (X4) and Structure and Operation Enables (X3) and Vision and Capability (X2) respectively, regression equation; Y = 0.613 + 0.114 X2 + 0.294 X3 + 0.315 X4, Statistic significant Sig. = 0.01 and together they can forecast 75.10 percentage. 3) Guidelines to reinforce digital transformation readiness of SAO including explicit of policy, rules and procedures to support digital practices, improved rules and criteria to according digital process, appropriate training course of digital literacy for all staff, and systematical recruitment for digital staffen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม26.3 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons