กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12887
ชื่อเรื่อง: ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสู่องค์กรดิจิทัล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Transformation readiness of State Audit Office of the Kingdom of Thailand for Digital Organization
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
จรินพงษ์ แดงจิ๋ว, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน--การบริหาร
การพัฒนาองค์การ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพร้อมของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินในการเปลี่ยนแปลงไปสู่องค์กรดิจิทัล 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินในการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรดิจิทัล และ 3) เสนอแนวทางการเสริมสร้างความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสู่องค์กรดิจิทัล การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรได้แก่ ข้าราชการของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จำนวน 3,106 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ข้าราชการของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน จำนวน 355 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ และ 2) ผู้บริหารและผู้อำนวยการสำนัก ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย สรุปตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ 1) ระดับความพร้อมด้านดิจิทัลของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พบว่า ระดับความพร้อมของส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และในภาพรวม มีความพร้อมระดับ 3 หรือระดับกำหนดชัดเจน หมายถึง ลักษณะองค์กรที่ใช้ข้อมูลเป็นศูนย์กลางเพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูล โดยมีความพร้อมด้านการบริหารจัดการรูปแบบองค์กรดิจิทัลมากที่สุด และมีความพร้อมด้านศักยภาพเจ้าหน้าที่ภาครัฐดิจิทัลน้อยที่สุด 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมด้านดิจิทัลของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ในภาพรวม ได้แก่ ปัจจัยด้านธรรมาภิบาล กฎหมาย และกฎระเบียบ ปัจจัยด้านโครงสร้างและการทำงาน และปัจจัยด้านเป้าหมายและศักยภาพองค์กร ตามลำดับ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ประสิทธิภาพการทำนายเท่ากับ 75.10 และ 3) แนวทางการเสริมสร้างความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสู่องค์กรดิจิทัล ได้แก่ การมีนโยบาย กฎระเบียบ คู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจนรองรับการทำงานด้านดิจิทัล การปรับปรุง กฎระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการทำงานด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล การจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมด้านดิจิทัลให้ครอบคลุมกับเจ้าหน้าที่ทุกตำแหน่ง ทุกระดับอย่างเป็นระบบ และการสรรหาบุคลากรด้านเทคโนโลยีเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.(บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12887
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม26.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons