กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12892
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการดูแลระยะกลางสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตเมือง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of an intermediate care model for stroke patients in urban areas |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุทธีพร มูลศาสตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา นพวรรณ เปียซื่อ, อาจารย์ที่ปรึกษา อรอนงค์ เจ็กภู่, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน--วิทยานิพนธ์ โรคหลอดเลือดสมอง--ผู้ป่วย--การดูแล |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการการดูแลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกึ่งเฉียบพลัน 2) พัฒนารูปแบบการดูแลระยะกลางสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในเขตเมือง และ 3) ศึกษาความเหมาะสมของกิจกรรมการดูแลตามรูปแบบการดูแลระยะกลางสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในเขตเมืองกลุ่มตัวอย่างแบ่งตามขั้นตอนการวิจัย เป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาปัญหาและความต้องการการดูแลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกึ่งเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างเป็นเอกสารงานวิจัยที่ได้ทบทวนวรรณกรรมอย่างมีขอบเขต จำนวน 20 เรื่อง 2) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการดูแลระยะกลางสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในเขตเมือง กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการดูแลโรคหลอดเลือดสมอง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และผู้ดูแล จำนวน 30 คน และ 3) ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมการดูแลตามรูปแบบการดูแลระยะกลางของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในเขตเมือง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยบุคลากรทางสาธารณสุข แบ่งออกเป็นระดับปฏิบัติงาน จำนวน 20 คน และระดับบริหาร จำนวน 15 คน รวม 35 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดถูกเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แนวทางการระดมสมอง 2) แบบสอบถามเพื่อประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมตามรูปแบบการดูแลระยะกลาง สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตเมือง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะกึ่งเฉียบพลัน ได้แก่ ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ความคิด ความจำ กลืนลำบาก เกิดความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า สูญเสียภาพลักษณ์แยกตัวจากสังคม ขาดรายได้ ต้องการการดูแลครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ 2) รูปแบบการดูแลระยะกลางสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในเขตเมือง ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมายในการดูแล การรับ-ส่งข้อมูล ทีมให้การดูแลและบทบาทหน้าที่ การประเมินปัญหาและความต้องการ กิจกรรมการดูแลและการประเมินผลการดูแลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ 3) ความเหมาะสมของกิจกรรมตามรูปแบบการดูแลระยะกลางสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตเมือง อยู่ในระดับมากที่สุดทุกกิจกรรม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12892 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.23 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License