กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12897
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจผลิตยางก้อนถ้วยของเกษตรกรชาวสวนยางพาราในเขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the decision to produce the cup lump rubber of rubber farmers in Wang Thong District Phitsanulok Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บริบูรณ์ ปิ่นประยงค์
ชุลีกร นาคมี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ยางพารา--การผลิต
การตัดสินใจผลิตเองหรือจัดซื้อ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลของเกษตรกรผู้ผลิตยางก้อนถ้วย(2) ปัจจัยภายในที่มีผลต่อการตัดสินใจผลิตยางก้อนถ้วยของเกษตรกรชาวสวนยางพารา (3) ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการตัดสินใจผลิตยางก้อนถ้วยของเกษตรกรชาวสวนยางพารา และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการตัดสินใจผลิตยางก้อนถ้วยของเกษตรกรชาวสวนยางพาราในเขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลกการศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ประชากรคือ เกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ทำการเปิดกรีดยางแล้วในเขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 2,259 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณตามสูตรของทาโร ยามาเน่ ได้จำนวนทั้งสิ้น 340 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบการจัดสรรโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า 1) เกษตรกรชาวสวนยางพาราในเขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลกส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 21-30 ปี การศึกษาส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา รายได้ขายยางเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,001-15,000 บาท มีประสบการณ์ทำยางพารา 6-10 ปี มีลักษณะพื้นที่ปลูกยางพาราเป็นพื้นที่เขา เนื้อที่สวนยางพาราเป็นสวนยางขนาดเล็ก และมีจำนวนแรงงานภาคการเกษตร2-4 คน 2) ปัจจัยภายในที่มีผลต่อการตัดสินใจผลิตยางก้อนถ้วยอยู่ในระดับการตัดสินใจปานกลางโดยองค์ประกอบของปัจจัยภายใน ด้านประสบการณ์ทำยางพารา และปริมาณน้ำยาง มีค่ามากที่สุดสองอันดับแรก 3) ปัจจัยภายนอกมีผลต่อการตัดสินใจผลิตยางก้อนถ้วยอยู่ในระดับการตัดสินใจปานกลาง โดยองค์ประกอบของปัจจัยด้านคุณภาพยางพาราเป็นที่ต้องการของตลาด และระยะทางของจุดรับซื้อ มีค่ามากที่สุด สองอันดับแรก 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในกับปัจจัยภายนอก มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในระหว่างตัวแปรมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12897
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_163363.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons