กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12898
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการเตรียมผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดตนเอง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of a nursing practice guideline for preparation of autologous stem Cell transplantation Sunpasitthiprasong Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย, อาจารย์ที่ปรึกษา สุธิดา มาสุธน, อาจารย์ที่ปรึกษา วรัชยา ทิมา, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์ การปลูกถ่ายเซลล์--การพยาบาล |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลในการเตรียมผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดตนเอง ที่มีต่อความวิตกกังวล ความพร้อมในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ ความพึงพอใจของผู้ป่วย และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ การวิจัยและพัฒนานี้กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ผู้ป่วยที่เตรียมปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดตนเองที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จำนวน 20 คน 2) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่หน่วยปลูกถ่ายไขกระดูก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ประเด็นการสนทนากลุ่ม 2) แนวปฏิบัติการพยาบาลในการเตรียมผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดตนเอง 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับความวิตกกังวล ความพร้อมในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ และความพึงพอใจของผู้ป่วย และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน แบบสอบถามที่ 3 มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.87, 0.85 และ 0.98 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.86 , 0.83 และ 0.82 ตามลำดับ แบบสอบถามที่ 4 มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.82 และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.87 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิลคอกซันซายแรงค์ ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลในการเตรียมผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดตนเอง ประกอบด้วย 1) การเตรียมผู้ป่วยในระยะก่อน ขณะ และหลังปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต และ 2) การเตรียมทีมดูแลผู้ป่วย ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น พบว่า 1) ความวิตกกังวลของผู้ป่วยหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลน้อยกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p <. 05) 2) ความพร้อมในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ และความพึงพอใจของผู้ป่วยหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p <. 05) และ 3) ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p <. 05) |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12898 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.73 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License