Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12909
Title: แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสถานศึกษาในจังหวัดพังงา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พังงา ภูเก็ต ระนอง
Other Titles: Guidelines for development of online learning management in the Corona Virus Disease 2019 pandemic situation of schools in Phang Nga Province under the Secondary Educational Service Area Office Phang Nga Phuket Ranong
Authors: กุลชลี จงเจริญ
จุไรรัตน์ กิจกล้า, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
การระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020---แง่การศึกษา
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการบริหารจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสถานศึกษาในจังหวัดพังงาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษาจังหวัดพังงา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง ปีการศึกษา 2564 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 212 คน จากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียนแล้วใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .97 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) สภาพการบริหารจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อการพัฒนา ด้านการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย ด้านการประสานความร่วมมือและการสื่อสารกับผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงาน ด้านการรับฟังเสียงสะท้อนจากครู ผู้ปกครอง นักเรียน และชุมชน ด้านการใช้เครือข่ายสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ ด้านการส่งเสริมและพัฒนาทักษะของครูให้เป็นผู้สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการจัดการเรียนรู้ และด้านการบริหารจัดการหลักสูตร ตามลำดับ และ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่า ควรพัฒนาหลักสูตรที่รองรับสถานการณ์วิกฤติ จัดกิจกรรมแบบผสมผสาน มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วทุกพื้นที่ที่มีความเสถียรและครอบคลุมทุกพื้นที่ ออกแบบเครื่องมือวิธีการวัดและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ใช้สื่อเทคโนโลยีที่หลากหลาย จัดบรรยากาศและแหล่งเรียนรู้ให้มีความพร้อมและปลอดภัย พร้อมรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมในการประเมินผลจากทุกฝ่าย รวมทั้งประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการขอรับการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการเรียนรู้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12909
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.17 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons