Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12932
Title: การสร้างภาพลักษณ์ของนายกองค์การบริหารส่วนตําบลห้วยยาง อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
Other Titles: Image creation of the chief executive of Huai Yang Sub-district Administrative Organization, Mueang District, Sakon Nakhon Province
Authors: วิทยาธร ท่อแก้ว
ไพรัช โชติพันธ์, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
กานต์ บุญศิริ
Keywords: ภาพในความคิด
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างภาพลักษณ์ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางอำเภอเมือง จังหวัดสกลนครเกี่ยวกับ 1) กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ และ 2) แนวทางการพัฒนาการสร้างภาพลักษณ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงจากผู้ที่เกี่ยวข้องในการสื่อสารภาพลักษณ์ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางโดยตรง มาไม่น้อยกว่า 4 ปี รวมจำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการ สร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล มี 4 ขั้นตอน คือ (1) การศึกษาภาพลักษณ์ในปัจจุบัน พบว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีการจัดแบ่งงานกันทำ มีความเด็ดขาด มีระเบียบวินัย และยึดมั่นในการทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม (2) การกําหนดภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล คือ เป็น38ผู้นำเพื่อสังคม ผู้นำที่ตัดสินใจจากฐานข้อมูล ผู้นำที่ขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรม และเป็นผู้นำที่บริหารทาเลนต์ 38(3) การดำเนินการสื่อสารภาพลักษณ์มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้ส่งสารหลัก โดยมีประเด็นสารหลัก คือ คุณลักษณะส่วนบุคคล กิจกรรมที่ดำเนินการ และผลงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ส่วนช่องทางการสื่อสารภาพลักษณ์ประกอบด้วยสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่ ผู้รับสารประกอบด้วยบุคลากรในองค์กร นักปกครองท้องที่ ผู้นำชุมชน และประชาชนในตำบล (4) การประเมินภาพลักษณ์พบว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองและการบริหาร มีความมุ่งมั่นในการทำงาน เป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ แสดงออกถึงความเป็นผู้นำยุค 4.0 มีเอกลักษณ์ด้านความตรงต่อเวลา เป็นผู้มีใจรักในงานบริการ ทำงานเพื่อสังคม พัฒนาสิ่งแวดล้อมในตำบล เป็นผู้มีช่องทางที่สามารถติดต่อได้สะดวกตลอด 24 ชั่วโมง มีกิจกรรมส่งเสริมความสามัคคีในตำบล เป็นคนที่เห็นแก่หมู่คณะ และเข้าถึงประชาชนในทุกพื้นที่ 2) แนวทางการพัฒนาการสร้างภาพลักษณ์นายกองค์การบริหารส่วนตำบล มี 2 ด้าน คือ (1) การพัฒนาด้านการกำหนดภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ให้สอดคล้องตามกาลเวลาทั้งคุณลักษณะส่วนบุคคลที่เป็นคนติดดิน จริงจัง เอาใจใส่ ขยัน เข้าถึงปัญหา กล้าคิด กล้านำ กล้าเปลี่ยน ประสานงานเก่ง และมนุษยสัมพันธ์ดี และการสร้างผลงานในการบริหารการพัฒนาตำบลให้เจริญก้าวหน้า และพฤติกรรมทางสังคมในฐานะผู้นำที่ดี อ่อนน้อมถ่อมตน กล้าตัดสินใจ มีบารมี (2) การพัฒนาทักษะการสื่อสารของผู้นำ คือ จะต้องสื่อสารให้สั้น กระชับ มีวัตถุประสงค์ชัดเจน สื่อสารตรงประเด็น ใช้คำพูด
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12932
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.67 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons