Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12933
Title: | การใช้สื่อเพื่อการหาเสียงเลือกตั้งนายกเทศมนตรีตำบลดงมะไฟ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร พ.ศ. 2554 |
Other Titles: | Media use in the mayoral campaign of Dong Mafai Sub-district, Mueang District, Sakon Nakhon Province in 2011 |
Authors: | สุภาภรณ์ ศรีดี ชาญ ศิริวรรณโชติ, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา หัสพร ทองแดง |
Keywords: | สื่อประชาสัมพันธ์ การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประเด็นสาร และ 2) รูปแบบสื่อที่ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งของนายกเทศมนตรีตำบลคงมะไฟ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร พ.ศ. 2554การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลและการสนทนากลุ่ม ใช้เครื่องมือการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง ได้แก่ นายกเทศมนตรีตำบลดงมะไฟ สมาชิกกลุ่มผู้ร่วมปฏิบัติการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งกลุ่มสมาชิกสภาเทศบาลตำบล กลุ่มนักปกครองท้องที่ และ กลุ่มนักวิชาการอิสระ รวมทั้งหมด 20 คนและการสนทนากลุ่มโดยเลือกจากประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลคงมะไฟ 3 หมู่บ้านและ 12 ชุมชน รวมทั้งหมด 45 คน โดยแบ่งการสนทนาออกเป็น 6 กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า 1) ประเด็นสารที่ใช้มีประเด็นหลัก 4 ประเด็น ประกอบด้วย(1) ประเด็นสารด้านสโลแกนที่ใช้หาเสียงเลือกตั้ง "กล้านำ ทำจริง ไม่ทิ้งประชาชน" ซึ่งสะท้อนภาพลักษณ์ของนายกเทศมนตรีตำบลดงมะไฟ สามารถสื่อสารประเด็นสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี ประเด็นที่ (2) ประเด็นสารด้านนโยบาย "ถนนสู่นา ไฟฟ้าสู่ทุ่ง มุ่งการศึกษา พัฒนากลุ่มอาชีพ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คืนภาษีให้ชุมชน ช่วยเหลือคนจนแบบบูรณาการ" (3) ประเด็นสารด้านตัวตน คือ"คำบื้อแสดงถึงเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์ มีความเที่ยงธรรม" (4) ประเด็นสารด้านผลงานที่ผ่านมา ได้แก่โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ คือ ถนน ประปา ไฟฟ้า สามารถสื่อสารประเด็นสารประชาชนในเขตเลือกตั้งได้2) รูปแบบสื่อที่ใช้ในการหาเสียงมี 2 รูปแบบคือ (1) สื่อดั้งเดิม ได้แก่ การเดินเคาะประตูบ้านแนะนำตัวแผ่นพับ ป้ายโฆษณา รถแห่ ใบปลิว การปราศรัย การสื่อสารด้วยคำขวัญ การใช้สติ๊กเกอร์หาเสียง และสื่อบุคคลที่เป็นผู้ใกล้ชิดเป็นแกนนำหรือหัวคะแนน และ (2) สื่อใหม่ ได้แก่ ข้อความสั้น หรือ เอสเอ็มเอส |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12933 |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License