กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12956
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการเลี้ยงแพะเนื้อเชิงธุรกิจของเกษตรกรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension of business goat farming of farmers in Suratthani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ
กชพรรณ รักเมือง, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จินดา ขลิบทอง
คำสำคัญ: แพะ--การเลี้ยง
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปและสภาพการผลิตแพะเนื้อเชิงธุรกิจ 2) ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตแพะเนื้อเชิงธุรกิจ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะการเลี้ยงแพะเนื้อเชิงธุรกิจ 4) การได้รับและความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงแพะเนื้อเชิงธุรกิจ และ 5) วิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงแพะเนื้อเชิงธุรกิจของเกษตรกรประชากร คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 557 ราย กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 233 รายสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 71.1 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 46.98 ปี ประสบการณ์ในการเลี้ยงเฉลี่ย 4.40 ปี เลี้ยงแบบขังคอกตลอดเวลา ใช้อาหารข้นควบคู่กับอาหารหยาบ มีขนาดฝูง 35.5 ตัว ใช้สายพันธุ์ลูกผสมเป็นสายพันธุ์หลัก ปริมาณแพะที่ผลิตได้เฉลี่ย 29.18 ตัวต่อปี จำหน่ายในรูปแบบแพะมีชีวิต ที่น้ำหนักเฉลี่ย 27.30 กิโลกรัมต่อตัว ในราคาเฉลี่ย 134.80 บาทต่อกิโลกรัม โดยเกษตรกรจำหน่ายด้วยตนเองภายในจังหวัด 2) ต้นทุนการผลิตแพะต่อรุ่น เฉลี่ย 89,531.11 บาท ผลตอบแทนการผลิตต่อรุ่น เท่ากับ 131,576.09 บาท กำไรสุทธิต่อรุ่น เท่ากับ 42,044.89 บาท คิดเป็นต้นทุนการผลิตแพะเฉลี่ยต่อตัว เท่ากับ 3,067.62 บาท และผลตอบแทนการผลิตแพะเฉลี่ยต่อตัว เท่ากับ 1,440.88 บาท 3) ปัญหาในการเลี้ยงแพะ ได้แก่ ขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ และข้อเสนอแนะ ได้แก่ ต้องการให้เจ้าหน้าที่ลงมาเยี่ยมเยียนเกษตรกร 4) การได้รับการส่งเสริมในภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด และมีความต้องการการส่งเสริมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่เกษตรกรต้องการการส่งเสริมมากที่สุด คือ การตรวจสุขภาพสัตว์ และ 5) แนวทางการส่งเสริม พบว่า การลงทุนเลี้ยงแพะเนื้อของเกษตรกรมีความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการได้รับกับความต้องการการส่งเสริม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งตัวแปรที่มีผลต่อปัจจัยความต้องการการส่งเสริม (Y) ได้แก่ประสบการณ์ (x2) จำนวนแม่พันธุ์ (x5) ขนาดฝูง (x6) และราคาแพะ (x8) โดยสมการสามารถทำนายความสำเร็จได้ร้อยละ 10.3 ได้สมการถดถอยพหุคูณ Y = a -. 166x2 + .163x5+ 1.88x6- .163x8 และสังเคราะห์แนวทางการส่งเสริมโดยใช้แบบจำลองการสื่อสาร (SMCR) ซึ่งมีเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นผู้ส่งสาร ให้องค์ความรู้ตามความต้องการของเกษตรกร ผ่านช่องทาง ได้แก่ ระบบการเยี่ยมเยียน และอบรมเชิงปฏิบัติการ ไปยังเกษตรกร โดยใช้แนวทางการพัฒนาจากการสังเคราะห์ในการดำเนินการส่งเสริม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12956
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons