Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12959
Title: | การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในการวางแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลในจังหวัดพัทลุง |
Other Titles: | The potential development for agricultural extension officers in sub-district agricultural development planning in Phatthalung Province |
Authors: | บำเพ็ญ เขียวหวาน ชริดา แก้วรัตนะ, 2536- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ |
Keywords: | การพัฒนากำลังคน การพัฒนาบุคลากร |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ความรู้และแหล่งความรู้ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกร 2) การวางแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลและระดับความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 3) ระดับการมีส่วนร่วมและความคิดเห็นของเกษตรกรในการวางแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในการวางแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล และ 5) ความต้องการในการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในการวางแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของสำนักงานเกษตรอำเภอในจังหวัดพัทลุงจำนวน 52 คน ทำการเก็บข้อมูลทั้งหมดโดยใช้แบบสอบถาม 2) เกษตรกรที่เป็นคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล และอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ทั้ง 65 ตำบล ของจังหวัดพัทลุงในปี พ.ศ. 2565 จำนวนทั้งสิ้น 1,202 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากเกษตรกรตำบลละ 2 คน รวมจำนวน 130 คนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ 3) คัดเลือกตัวแทนเจ้าหน้าที่และเกษตรกรแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 22 คน เพื่อทำการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและจัดหมวดหมู่ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ของเจ้าหน้าที่และเกษตรกรอยู่ในระดับมากและได้รับความรู้จากแหล่งความรู้ที่เป็นสื่อกิจกรรมมากที่สุด 2) เจ้าหน้าที่มีการปฏิบัติตามกระบวนการจัดทำแผนการเกษตรระดับตำบลร้อยละ 78.8-100 และมีความคิดเห็นต่อขั้นตอนการวางแผนการเกษตรระดับตำบลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) เกษตรกรมีส่วนร่วมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) ปัญหาของเจ้าหน้าที่ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะในภาพรวมอยู่ในระดับมากและ 5) เจ้าหน้าที่มีความต้องการในการพัฒนาศักยภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยอยู่ในขั้นตอนการกำหนดทิศทางและเป้าหมายการพัฒนามากที่สุด และมีข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพ 4 ด้าน คือด้านกระบวนการวางแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล ด้านบุคคล ด้านการได้รับการสนับสนุน และด้านอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การวางแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลเกิดประสิทธิภาพ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12959 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 23.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License