กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12960
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของเกษตรกรต่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร แบบบูรณาการของหน่วยงานในเขตพื้นที่สูง ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The participation of farmers in agricultural extension and development by integrated organizations in the highland area of Pha Chang Noi Sub-district, Pong District, Phayao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์
พรนิภา ทาวงค์, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พลสราญ สราญรมย์
คำสำคัญ: การส่งเสริมการเกษตร
การมีส่วนร่วมของเกษตรกร--ไทย--พะเยา
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการดำเนินงานแบบบูรณาการของหน่วยงานในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร 3) ความคิดเห็นและความต้องการของเกษตรกรเกี่ยวกับการดำเนินงานแบบบูรณาการของหน่วยงานในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร และ 4) ปัญหาการดำเนินงานและข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการของหน่วยงานในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรที่มีส่วนร่วมในการเข้าอบรมถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีด้านการเกษตรที่เหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่สูง ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา ปี 2564 จำนวน 250 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 154 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุดค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกร ร้อยละ 62.3 เป็นเพศชายมีอายุเฉลี่ย 48.28 ปี เกษตรกรทั้งหมดประกอบอาชีพการเกษตร ร้อยละ 89 ทำไร่ มีจำนวนพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ย 36.48 ไร่ เกือบทั้งหมดมีการถือครองพื้นที่ทางการเกษตรเป็นของตนเอง แต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และรายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 85,548.70 บาท/ปี 2) การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการดำเนินงานแบบบูรณาการของหน่วยงานในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในเขตพื้นที่สูง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง คือ มีส่วนร่วมในการประชุมวางแผน เสนอแนวทางการดำเนินงาน และการร่วมประชาคม 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงาน พบว่า อยู่ในระดับมากคือ การดำเนินงานมีการสามารถแก้ไขปัญหาการทำการเกษตรบนพื้นที่สูง และความต้องการในเรื่องดังกล่าวอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ความต้องการองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่เหมาะสมบนพื้นที่สูง 4) เกษตรกรมีปัญหาด้านการคมนาคม การสื่อสารงบประมาณการดำเนินงาน อยู่ในระดับปานกลาง และลักษณะทางกายภาพ มีระดับปัญหาอยู่ในระดับน้อย โดยมีข้อเสนอแนะในเรื่องของการให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการประชุมจัดทำแผนร่วมกับหน่วยงาน และการติดตามการดำเนินงาน นอกจากนี้ ต้องการให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้บูรณาการร่วมกันในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำทำการเกษตร นเขตพื้นที่สูง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12960
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons