Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12963
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารยา ประเสริฐชัยth_TH
dc.contributor.authorกชามาส วิชัยดิษฐ, 2533-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2025-01-02T06:54:24Z-
dc.date.available2025-01-02T06:54:24Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12963-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ และ (3) ทำนายปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดชุมพร ประชากร คือ บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐ จังหวัดชุมพร ทั้งหมด 11 โรงพยาบาล จำนวน 1,046 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 335 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความยืดหยุ่นทางจิตใจ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตการทำงานและแบบสอบถามภาวะหมดไฟในการทำงานที่มีค่าความเที่ยงระหว่าง 0.86 - 0.92 ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การถดถอยโลจิสติกอย่างง่าย และการถดถอยโลจิสติกแบบหลายตัวแปรในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลรัฐ จังหวัดชุมพร (1) มีภาวะหมดไฟจากการทำงาน จำนวน 43 คน ร้อยละ 12.8 (2) ปัจจัยด้านอายุ ชั่วโมงการทำงาน ความยืดหยุ่นทางจิตใจทั้ง 3 ด้าน (ความมั่นคงทางอารมณ์ มีกำลังใจและการจัดการกับปัญหา) ปัจจัยคุณภาพชีวิต การทำงานด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน โอกาสในการพัฒนาและการใช้ความสามารถของบุคคล และความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัวมีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์อย่างมีนัยสำคัญ และ (3) ปัจจัยด้านชั่วโมงการทำงานมากกว่า 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ความยืดหยุ่นทางจิตใจด้านกำลังใจ และความยืดหยุ่นทางจิตใจด้านการจัดการกับปัญหาสามารถทำนายภาวะหมดไฟในการทำงานได้ร้อยละ 8.9th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา)th_TH
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์--ความพอใจในการทำงานth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลของรัฐ--ไทย--ชุมพรth_TH
dc.titleภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดชุมพรth_TH
dc.title.alternativeJob burnout among medical personnel in public hospitals, Chumphon Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this descriptive research were (1) to explore job burnout among medical personnel, (2) to examine the factors that affect their job burnout, and (3) to predict mental resilience and quality of work life affecting job burnout in medical personnel of public hospitals in Chumphon Province.The study involved a sample of 335 medical personnel selected using the stratified random sampling method from all 1,046 such personnel at 11 public hospitals in Chumphon Province. Research tools were a mental resilience questionnaire, a quality of work life questionnaire, and a job burnout questionnaire, whose Cronbach's alpha coefficients ranged from 0.86 to 0.92. Descriptive statistics were used to determine frequencies, percentages, means, and standard deviations; and inferential statistics including simple logistic regression and multiple logistic regression were used for data analysis.The findings showed that, among all respondents at public hospitals in Chumphon province: (1) 43 (12.8%) suffered job burnout; (2) age, working hours, mental resilience (emotional stability, encouragement, and problem-solving skills), and quality of work life (career advancement, job security, capacity development and exertion, and work-life balance) were significantly associated with job burnout in medical personnel; and (3) working hours of >60 hours per week and mental resilience (encouragement and problem-solving skills) could 8.9% predict job burnout.en_US
dc.contributor.coadvisorปกกมล เหล่ารักษาวงษ์th_TH
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.62 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons