กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12963
ชื่อเรื่อง: | ภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดชุมพร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Job burnout among medical personnel in public hospitals, Chumphon Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อารยา ประเสริฐชัย กชามาส วิชัยดิษฐ, 2533- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปกกมล เหล่ารักษาวงษ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--วิทยานิพนธ์ ความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา) บุคลากรทางการแพทย์--ความพอใจในการทำงาน โรงพยาบาลของรัฐ--ไทย--ชุมพร |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ และ (3) ทำนายปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดชุมพร ประชากร คือ บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐ จังหวัดชุมพร ทั้งหมด 11 โรงพยาบาล จำนวน 1,046 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 335 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความยืดหยุ่นทางจิตใจ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตการทำงานและแบบสอบถามภาวะหมดไฟในการทำงานที่มีค่าความเที่ยงระหว่าง 0.86 - 0.92 ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การถดถอยโลจิสติกอย่างง่าย และการถดถอยโลจิสติกแบบหลายตัวแปรในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลรัฐ จังหวัดชุมพร (1) มีภาวะหมดไฟจากการทำงาน จำนวน 43 คน ร้อยละ 12.8 (2) ปัจจัยด้านอายุ ชั่วโมงการทำงาน ความยืดหยุ่นทางจิตใจทั้ง 3 ด้าน (ความมั่นคงทางอารมณ์ มีกำลังใจและการจัดการกับปัญหา) ปัจจัยคุณภาพชีวิต การทำงานด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน โอกาสในการพัฒนาและการใช้ความสามารถของบุคคล และความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัวมีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์อย่างมีนัยสำคัญ และ (3) ปัจจัยด้านชั่วโมงการทำงานมากกว่า 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ความยืดหยุ่นทางจิตใจด้านกำลังใจ และความยืดหยุ่นทางจิตใจด้านการจัดการกับปัญหาสามารถทำนายภาวะหมดไฟในการทำงานได้ร้อยละ 8.9 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12963 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.62 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License