กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12964
ชื่อเรื่อง: ผลของการพัฒนารูปแบบการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรโรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of participatory development of incident risk report model of healthcare staff in Fort Sunpasitthiprasong Hospital, Ubon Ratchathani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา
ธนภณ ชัยวรกุล, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เอกพล กาละดี
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์--การบริหารความเสี่ยง
โรงพยาบาล--การบริหารความเสี่ยง
โรงพยาบาล--การบริหาร--ไทย--อุบลราชธานี
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบของการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงที่ได้รับการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรในโรงพยาบาล (2) เปรียบเทียบความรู้ การมีส่วนร่วมในการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง และอัตราการรายงานความเสี่ยงของบุคลากร ก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบของการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงแบบมีส่วนร่วม และ (3) ประเมินความพึงพอใจของบุคลากรต่อการใช้ระบบรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงรูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยและพัฒนา ประชากรที่ศึกษาได้แก่บุคลากรของโรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ที่อยู่ในส่วนของการรักษาพยาบาลจำนวน 84 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 32 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนารูปแบบการรายงานความเสี่ยงของโรงพยาบาลที่มีดัชนีความสอดคล้อง 0.91 และแบบสอบถามเพื่อประเมินระดับความรู้ การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจ ที่มีคำความเที่ยง 0.61, 0.95 และ 0.98 ตามลำดับ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการรายงานความเสี่ยงฯ 2 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบทีแบบคู่ ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการรายงานความเสี่ยงที่พัฒนาขึ้นจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ คือการรายงานความเสี่ยงผ่านการใช้แอปพลิเคชัน Line official account ซึ่งมีช่องทางการเข้าถึงโปรแกรมการรายงานความเสี่ยงที่ง่าย มีการสะท้อนกลับและติดตามผลการรายงานความเสี่ยงได้ มีการสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากรที่รายงานความเสี่ยง และสามารถแจ้งเตือนผลการแก้ไขในเหตุการณ์ความเสี่ยงที่สำคัญแก่ทุกหน่วยงานได้ (2) คะแนนเฉลี่ยความรู้และการมีส่วนร่วมในการรายงานความเสี่ยงหลังการพัฒนารูปแบบการรายงานความเสี่ยงสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีอัตราการรายงานความเสี่ยงของบุคคลต่อเดือน และภาพรวมของโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ (3) ระดับความพึงพอใจของบุคลากรต่อการใช้ระบบรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาอยู่ในระดับมากที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12964
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons