กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12966
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยและผลกระทบทางทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในช่วงวิกฤติโควิด-19 ในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors and effects on dental health of upper primary school students during the COVID-19 crisis in PhuKhiao District, Chaiyaphum Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีระวุธ ธรรมกุล
ณัฐริกา ศรีสงวน, 2540-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อารยา ประเสริฐชัย
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
นักเรียนประถมศึกษา--การดูแลทันตสุขภาพ
การระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020-
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ในการดูแลสุขภาพช่องปาก (2) ผลกระทบทางทันตสุขภาพ และ (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลกระทบทางทันตสุขภาพในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในช่วงวิกฤติโควิด-19 ในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ศึกษาในประชากรนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 1,061 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 282 คน เลือกตัวอย่างโดยใช้ วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เก็บข้อมูลในเดือนกรกฎาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) ด้านปัจจัยนำ ระดับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ใน ระดับปานกลางร้อยละ 56.4 และระดับทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับสูงร้อยละ 81.2 ด้านปัจจัยเอื้อโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 84.0 และด้านปัจจัยเสริมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 68.8 (2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีผลกระทบทางทันตสุขภาพอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 55.7 และ (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลกระทบทางทันตสุขภาพ คือ เพศ ทัศนคติ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก การมีอุปกรณ์ในการทำความสะอาดช่องปาก การเข้าถึงแหล่งบริการทางทันตกรรม การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากโดยสามารถร่วมกันทำนายผลกระทบทางทันตสุขภาพได้ร้อยละ 32.0
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12966
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons