กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12968
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการจัดการศัตรูข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยวิธีผสมผสานของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension of maize integrated pest management of farmers in Phitsanulok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง
อิทธิพล ยอดโค้น, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ข้าวโพด--โรคและศัตรูพืช--การควบคุมแบบผสมผสาน
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และการจัดการศัดรูข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยวิธีผสมผสาน 3) ปัจจัยที่บีความสัมพันธ์กับการยอมรับการจัดการศัตรู ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยวิธีผสมผสาน 4) ปัญหาในการจัดการศัดรูข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยวิธีผสมผสาน 5) ความต้องการและแนวทางส่งเสริมการจัดการศัตรูข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยวิธีผสมผสานประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดพิษณุโลกที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรปี 2564 จำนวน 18,091 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามของ ทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.67 ได้กลุ่มตัวอย่าง 202 ราย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่ความถี่ ร้อยละค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 52.29 ปี จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.84 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.35 คน พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 15.55 ไร่ รายได้ภาคเกษตรเฉลี่ย 77,643.56 บาท ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร 2) เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 10.34 ไร่ ประสบการณ์การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 20.73 ปี ต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 4,580.39 บาทต่อไร่ ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 967.57 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้จากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 37,778.49 บาท เกษตรกรยอมรับการจัดการศัดรูข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยวิธีผสมผสานภาพรวมอยู่ในระดับน้อย วิธีการจัดการศัตรูข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ยอมรับในระดับมาก คือ วิธีเขตกรรม การใช้สารเคมี ระดับน้อย คือ ชีววิธี วิธีกล ระดับน้อยที่สุด คือ การใช้สารสกัดธรรมชาติ วิธีฟิสิกส์ 3) อายุของเกษตรกร มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการจัดการศัตรูข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยวิธีผสมผสานอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 4) เกษตรกรมีปัญหาการจัดการศัตรู ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยวิธีผสมผสานโดยวิธีฟิสิกส์ในระดับมากที่สุด 5) เกษตรกรมีความต้องการความรู้วิธีการใช้สารเคมีมากที่สุด ต้องการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือวีดีทัศน์ อยู่ในระดับมากและต้องการวิธีการส่งเสริม คือการสาธิต อยู่ในระดับมาก แนวทางการส่งเสริมการจัดการศัตรูข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยวิธีผสมผสาน ได้แก่ (1) ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องการจัดการศัตรูข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยวิธีผสมผสานเพื่อถ่ายทอดให้เกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) ส่งเสริมองค์ความรู้การผสมปุ๋ยใช้เอง การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (3) ส่งเสริมการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง และปลอดภัยเพื่อลดการใช้สารเคมี (4) จัดทำแปลงเรียนรู้ สาธิต ฝึกปฏิบัติ และผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยใช้การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน เช่น วีดีทัศน์ โปสเตอร์ และแผ่นพับ (5) ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรในพื้นที่
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12968
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons