กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12969
ชื่อเรื่อง: | การส่งเสริมการลดต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพการผลิตอ้อยของเกษตรกรในอำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension of reducing cost and enhancing productivity for sugarcane production by farmers in Khu Mueang District, Buri Ram Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พลสราญ สราญรมย์ กาญจนา พูลวงค์, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุนันท์ สีสังข์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ อ้อย--การผลิต--ไทย--บุรีรัมย์ การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล ทางสังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) แหล่งความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับการลดต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพการผลิตอ้อยของเกษตรกร 3) ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการลดต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพการผลิตอ้อยของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการลดต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพการผลิตอ้อย 5) ความต้องการการส่งเสริมการลดต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพการผลิตอ้อย ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยโรงงานที่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ปีการผลิต 64/65 กับ สำนักงานเกษตรอำเภอดูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวนทั้งหมด 694 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโรยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.08 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 128 คน โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดอันดับ ผลการศึกษา พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 51.6 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 53.00 ปี ประสบการณ์ปลูกอ้อยเฉลี่ย 9.30 ปี ขนาดพื้นที่การปลูกอ้อยเฉลี่ย 11.54 ไร่ เกษตรกรร้อยละ 78.1 มีเครื่องมือเครื่องจักรทางการเกษตร ร้อยละ 68.8 ใช้แหล่งเงินทุนที่ใช้ในการผลิตอ้อย ผลผลิตเฉลี่ย 13.10 ตัน/ไร่ รายได้จากการผลิตอ้อยเฉลี่ย 17,053.91 บาท/ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 9,720.55 บาท บาท/ไร่ รายได้สุทธิ เฉลี่ย 7,277.89 บาท/ไร่ 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับความรู้ในระดับมากโดยส่วนใหญ่ได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ไปเยี่ยมไร่และที่บ้าน 3) เกษตรกรมีความรู้ในระดับมาก โดยอันดับ 1 คือ การวางแผนเลือกพื้นที่และการตัดอ้อยสด ส่วนการปฏิบัติ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีการปฏิบัติในการวางแผนเลือกพื้นที่และใช้เครื่องปลูก 4) เกษตรกรมีปัญหาการปฏิบัติ อยู่ในระดับปานกลาง โดยอันดับ 1 คือ กิจกรรมในกระบวนการผลิตอ้อย ส่วนปัญหา การส่งเสริมและการสนับสนุน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยอันดับ1 คือ การวางแผนการจัดโคต้าคิว ข้อเสนอแนะ คือ การสร้างเครือข่ายเกษตรกรเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 5) เกษตรกรมีความต้องการด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมาก โดยอันดับ 1 คือ กระบวนการผลิตอ้อย ส่วนด้านวิธีการส่งเสริมอยู่ในระดับน้อย ทั้ง 3 วิธี ได้แก่ บุคคล กลุ่ม และ มวลชน การส่งเสริมการลดต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพการผลิตอ้อย ควรให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำอำเภอจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแบบกลุ่มในกิจกรรมต่างๆ ทั้งการลดต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพการผลิตอ้อยส่วนนักส่งเสริมฝ่ายไร่อ้อย ควรเน้นหนักส่งเสริมเรื่องการวางแผนการจัดโดต้าคิว โดยใช้วิธีการเยี่ยมเยียนไร่รายบุคคล |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12969 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT (1).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.51 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License