Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12972
Title: การยอมรับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ในจังหวัดนครปฐม
Other Titles: Adoption of organic vegetable farmers in Nakhon Pathom Province for certificaiton of participatory guarantee system
Authors: พลสราญ สราญรมย์
นัฐพงษ์ แก้วรัตนชัย, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ในจังหวัดนครปฐม 2) ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 4) การยอมรับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะการยอมรับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมประชากรที่ศึกษา คือเกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 110 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ได้จำนวน 86 ราย สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 53.5 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 54-73 ปี ร้อยละ 27.9 จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีรายได้จากการประกอบอาชีพเกษตรเฉลี่ย 14,605.81 บาท/เดือน มีประสบการณ์ในปลูกผักอินทรีย์เฉลี่ย 5.52 ปี พื้นที่ปลูกผักอินทรีย์เฉลี่ย 5.59 ไร่ เกษตรกรทั้งหมดมีลักษณะการถือครองพื้นที่ปลูกพืชอินทรีย์เป็นของตนเอง มีรายจ่ายจากการปลูกพืชอินทรีย์เฉลี่ย 3,280.87 บาท/เดือน เกษตรกรทั้งหมดเคยเข้ารับการฝึกอบรมการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม โดยได้รับข่าวสาร จากเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดิน/ส่งเสริมการเกษตร สถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความคุ้มค่าอันดับ 1 คือ คิดมีฟาร์ม 2)ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก โดยอันดับ 1 ได้แก่ การปลูกพืชหมุนเวียน การแยกภาชนะและสถานที่เก็บ หลักการพื้นฐานแบบมีส่วนร่วม และการสร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การมีผลต่อ ผู้บริโภค เกษตรกร และเจ้าหน้าที่ 4) การยอมรับเชิงเนื้อหา พบว่า เกษตรกรยอมรับอยู่ในระดับมาก โดยอันดับ 1 ได้แก่ ภาชนะและสถานที่เก็บ การใช้เมล็ดพันธุ์ การประชุมกลุ่มและกฎกติกากลุ่ม ส่วนการยอมรับเชิงปฏิบัติ พบว่า เกษตรกรยอมรับอยู่ในระดับมาก โดยอันดับ 1 ได้แก่ การปลูกพืชหมุนเวียน การปรับปรุงบำรุงดิน ภาชนะและสถานที่เก็บ 5) เกษตรกรมีปัญหาการยอมรับอยู่ในระดับมากทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ การรับรองมาตรฐาน และการส่งเสริม โดยอันดับ 1 คือ ปัญหาความรู้ความเชี่ยวชาญของนักส่งเสริมการเกษตร ข้อเสนอแนะ คือ นักส่งเสริมการเกษตรควรมีความรู้และมีเวลาในการส่งเสริมเพื่อให้เกษตรกรยอมรับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมและนำไปปฏิบัติได้
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12972
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.13 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons