Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12977
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิธิพัฒน์ เมฆขจรth_TH
dc.contributor.authorชลธิชา เตชะเจริญกิจ, 2535-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2025-01-03T06:39:07Z-
dc.date.available2025-01-03T06:39:07Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12977en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความภาคภูมิใจในตนเองของเยาวชนที่ถูกระรานทางไซเบอร์ก่อนและหลังได้รับการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีการปรับเปลี่ยนความคิดควบคู่กับการใช้กิจกรรมละครสร้างสรรค์ 2) เปรียบเทียบความภาคภูมิใจในตนเองของเยาวชนกลุ่มทดลองภายหลังการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีการปรับเปลี่ยนความคิดควบคู่กับการใช้กิจกรรมละครสร้างสรรค์กับระยะติดตามผล และ 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของความภาคภูมิใจในตนเองระหว่างเยาวชนกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การปรึกษาแบบกลุ่มควบคู่กับการใช้กิจกรรมละครสร้างสรรค์กับกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวปกติกลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชน อายุระหว่าง 14-18 ปี ของมูลนิธิแห่งหนึ่งในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดความภาคภูมิใจในตนเองมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .87 และ 2) โปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มควบคู่กับกิจกรรมละครสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเครื่องหมายโดยใช้สถิติวิลคอกซัน และการทดสอบแมนวิทนีย์ ยู ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ภายหลังการใช้โปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีการปรับเปลี่ยนความคิดควบคู่กับการใช้กิจกรรมละครสร้างสรรค์ เยาวชนกลุ่มทดลองมีความภาคภูมิใจในตนเองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ภายหลังการทดลองกับระยะติดตามผลเยาวชนกลุ่มทดลองมีความภาคภูมิใจในตนเองไม่แตกต่างกัน และ 3) เยาวชนกลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีการปรับเปลี่ยนความคิดควบคู่กับการใช้กิจกรรมละครสร้างสรรค์มีความภาคภูมิใจในตนเองสูงกว่าของกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectความภูมิใจแห่งตนในวัยรุ่นth_TH
dc.subjectการคุกคามทางอินเทอร์เน็ตth_TH
dc.subjectบทละคร--การใช้รักษาth_TH
dc.subjectการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มสำหรับวัยรุ่นth_TH
dc.titleการเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของเยาวชนที่ถูกระรานทางไซเบอร์ โดยการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีการปรับเปลี่ยนความคิดควบคู่กับการใช้กิจกรรมละครสร้างสรรค์th_TH
dc.title.alternativeEnhancement self-esteem of youth who are bullied online by used a cognitive group counseling theory with creative drama activitiesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (1) to compare the levels of self-esteem of youths who are bullied online before and after receiving group counseling based on the cognitive group counseling theory together with creative drama activities; (2) to compare the level of self-esteem of the experimental group youths at the end of the experiment with their counterpart level during the follow-up period; and (3) to compare the post-experiment self-esteem level of the experimental group youths who received group counseling based on the cognitive group counseling theory together with creative drama activities with the post-experiment counterpart level of the control group youths who undertook normal guidance activities.The research sample consisted of 12 purposively selected youths, aged 14 – 18 years, of a foundation in Prachuap Khiri Khan Province during the first semester of the 2021 academic year. Then they were randomly assigned as members of the experimental group and the control group, each of which containing 6 youths. The employed research tools were (1) a scale to assess self-esteem, with reliability coefficient of .87; and (2) a group counseling program together with creative drama activities Statistics employed for data analysis were the mean, standard deviation, Wilcoxon matched-pairs sign-rank test, and Mann-Whitney U test.The research results showed that (1) after receiving the group counseling program based on the cognitive group counseling theory together with creative drama activities, the self-esteem level of the experimental group youths was significantly increased at the .05 level of statistical significance; (2) no significant difference was found between the experimental group youths’ self-esteem level at the end of the experiment and its counterpart level during the follow-up period; and (3) the post-experiment self-esteem level of the experimental group youths, who received group counseling based on the cognitive group counseling theory together with creative drama activities, was significantly higher than the post-experiment counterpart level of the control group youths who undertook normal guidance activities at the .05 level of statistical significance.en_US
dc.contributor.coadvisorสุขอรุณ วงษ์ทิมth_TH
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.51 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons