กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12977
ชื่อเรื่อง: | การเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของเยาวชนที่ถูกระรานทางไซเบอร์ โดยการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีการปรับเปลี่ยนความคิดควบคู่กับการใช้กิจกรรมละครสร้างสรรค์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Enhancement self-esteem of youth who are bullied online by used a cognitive group counseling theory with creative drama activities |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิธิพัฒน์ เมฆขจร ชลธิชา เตชะเจริญกิจ, 2535- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุขอรุณ วงษ์ทิม |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--วิทยานิพนธ์ ความภูมิใจแห่งตนในวัยรุ่น การคุกคามทางอินเทอร์เน็ต บทละคร--การใช้รักษา การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มสำหรับวัยรุ่น |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความภาคภูมิใจในตนเองของเยาวชนที่ถูกระรานทางไซเบอร์ก่อนและหลังได้รับการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีการปรับเปลี่ยนความคิดควบคู่กับการใช้กิจกรรมละครสร้างสรรค์ 2) เปรียบเทียบความภาคภูมิใจในตนเองของเยาวชนกลุ่มทดลองภายหลังการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีการปรับเปลี่ยนความคิดควบคู่กับการใช้กิจกรรมละครสร้างสรรค์กับระยะติดตามผล และ 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของความภาคภูมิใจในตนเองระหว่างเยาวชนกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การปรึกษาแบบกลุ่มควบคู่กับการใช้กิจกรรมละครสร้างสรรค์กับกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวปกติกลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชน อายุระหว่าง 14-18 ปี ของมูลนิธิแห่งหนึ่งในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดความภาคภูมิใจในตนเองมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .87 และ 2) โปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มควบคู่กับกิจกรรมละครสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเครื่องหมายโดยใช้สถิติวิลคอกซัน และการทดสอบแมนวิทนีย์ ยู ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ภายหลังการใช้โปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีการปรับเปลี่ยนความคิดควบคู่กับการใช้กิจกรรมละครสร้างสรรค์ เยาวชนกลุ่มทดลองมีความภาคภูมิใจในตนเองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ภายหลังการทดลองกับระยะติดตามผลเยาวชนกลุ่มทดลองมีความภาคภูมิใจในตนเองไม่แตกต่างกัน และ 3) เยาวชนกลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีการปรับเปลี่ยนความคิดควบคู่กับการใช้กิจกรรมละครสร้างสรรค์มีความภาคภูมิใจในตนเองสูงกว่าของกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12977 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.51 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License