Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12986
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการรับวัคซีนสูตรไขว้และการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดพะเยา : การศึกษาย้อนหลังโดยมีกลุ่มควบคุมแบบจับคู่
Other Titles: Association between heterologous prime-boost vaccination and Coronavirus Disease 2019 among people in Phayao Province, Thailand: a matched case-control study
Authors: ธีระวุธ ธรรมกุล
ดารา พิสิฐพัฒนพงศ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เอกพล กาละดี
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--วิทยานิพนธ์
วัคซีนโควิด-19
วัคซีน--เทคโนโลยีชีวภาพ
โควิด-19--โรค--การรักษา
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สูตรไขว้และการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดพะเยา รูปแบบการวิจัยเป็นการศึกษาย้อนหลัง โดยมีกลุ่มควบคุมแบบจับคู่มีกลุ่มป่วยและไม่ป่วย กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในจังหวัดพะเยาที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 385 คน แบ่งเป็นกลุ่มป่วย จำนวน 77 คน และกลุ่มไม่ป่วย จำนวน 308 คน ตามอัตราส่วน 1:4 เลือกตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบชั้นภูมิ ทำการเก็บข้อมูลในเดือนกันยายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราห์แบบพหุคูณ โลจิสติกแบบมีเงื่อนไข ผลการศึกษาพบว่า การรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สูตรไขว้ แบบการฉีดชนิดที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Viral vector) เป็นเข็มที่ 1 และชนิดสารพันธุกรรม (mRNA Vaccine) เป็นเข็มที่ 2 นั้นมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 โดยการฉีดวัคซีนแบบดังกล่าวสามารถป้องกันการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ร้อยละ 70.0
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12986
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.01 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons