Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12987
Title: อิทธิพลที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามกลยุทธ์การควบคุมโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจของผู้นำชุมชน ตำบลปางตาไว จังหวัดกำแพงเพชร
Other Titles: Influence on the implementation of respiratory disease control strategies among community leader in Pang Ta Wai Subdistrict, Kamphaeng Phet Province
Authors: อารยา ประเสริฐชัย
พฤทธ์ พิพิธภักดี, 2538-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เอกพล กาละดี
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
โรคติดต่อ--การป้องกัน
ทางเดินหายใจ--โรค--ไทย--กำแพงเพชร
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงวิเคราะห์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ทัศนคติ และการปฏิบัติตามกลยุทธ์การควบคุมโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามกลยุทธ์การควบคุมโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ และ (3) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามกลยุทธ์การควบคุมโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจของผู้นำชุมชนตำบลปางตาไว จังหวัดdeแพงเพชร ประชากรคือผู้นำชุมชน จำนวน 206 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างเป็นระบบและคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*power ได้จำนวน 113 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงของแบบทดสอบความรู้ฯ แบบสอบถามทัศนคติฯ และการปฏิบัติตามกลยุทธ์การควบคุมโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจเท่ากับ 0.72 0.83 และ 0.85 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่ายและแบบพหุคูณ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้นำชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 51 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สถานภาพสมรส มีระยะเวลาดำรงตำแหน่งเฉลี่ย 12 ปี มีความรู้ และทัศนคติ เกี่ยวกับกลยุทธ์การควบคุมโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจอยู่ในระดับปานกลาง และมีการปฏิบัติตามกลยุทธ์การควบคุมโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจอยู่ในระดับดี (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามกลยุทธ์การควบคุมโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้นำชุมชน ความรู้ และทัศนคติ และ (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามกลยุทธ์การควบคุมโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ คือ การดำรงตำแหน่งของผู้นำชุมชน ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และความรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การการควบคุมโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจโดยสามารถร่วมทำนายการการปฏิบัติตามกลยุทธ์ได้ร้อยละ 18.4 (R2 - 0.184) ดังนั้นการให้ความรู้การมีทัศนคติที่ดี และเสริมสร้างเครือข่ายการทำงานให้แก่ผู้นำชุมชน จะช่วยให้การปฏิบัติตามกลยุทธ์การควบคุมโรคติดต่อดีขึ้น.
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12987
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.2 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons