Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12990
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเบญจมาศ อยู่ประเสริฐth_TH
dc.contributor.authorภรณ์ทิพย์ สุจจิตร์จูล, 2536-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2025-01-06T03:53:09Z-
dc.date.available2025-01-06T03:53:09Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12990en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพส่วนบุคคล สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้และการใช้สารชีวภัณฑ์ของเกษตรกร 3) สิ่งจูงใจในการใช้สารชีวภัณฑ์ในการปลูกข้าวของเกษตรกร 4) การได้รับการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการใช้และการผลิตสารชีวภัณฑ์ของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมใช้สารชีวภัณฑ์ของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษาคือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปีกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปีการเพาะปลูก 2564/65 จำนวน 3,622 ราย กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้จำนวน 193 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 51.3 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 56.25 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ประสบการณ์ในการทำการเกษตร 28.78 ปี เคยเข้ารับการฝึกอบรมที่เกี่ยวกับสารชีวภัณฑ์เฉลี่ย 1.58 ครั้ง/ปี มีการรับรู้ข่าวสารด้านสารชีวภัณฑ์จากเจ้าหน้าที่ พื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 16.59 ไร่ แรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 2.49 คน รายได้จากการทำนาเฉลี่ย 7,807.96 บาท/ไร่ ต้นทุนการทำนาเฉลี่ย 4,500.12 บาท/ไร่ 2) เกษตรกรร้อยละ 30.1 มีความรู้เกี่ยวกับเชื้อราไตรโคเดอร์มาระดับมาก ร้อยละ 33.7 ความรู้เกี่ยวกับเชื้อราบิวเวอเรียในระดับน้อย เกษตรกร ร้อยละ 24.9 มีการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา ร้อยละ 24.4 มีการผลิตเชื้อราบิเวอเรีย เกษตรกรร้อยละ 53.8 มีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และร้อยละ 52.8 มีการใช้เชื้อราบิเวอเรีย 3) เกษตรกรมีสิ่งจูงใจในระดับมากที่สุด คือ ในการใช้สารชีวภัณฑ์ด้านการลดต้นทุนการผลิต และด้านประสิทธิภาพการผลิต และในระดับมาก คือ ด้านราคาผลผลิตและการตลาด 4) เกษตรกรร้อยละ 56.3 ได้รับการส่งเสริมด้านการใช้เชื้อราไตรโคเตอร์มา และร้อยละ 52.3 ได้รับการส่งเสริมด้านการใช้เชื้อราบิวเวอเรีย โดยเกษตรกรส่วนมากได้รับการส่งเสริมผ่านการเยี่ยมเยียนที่บ้านหรือไร่นาเกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาและเชื้อราบิวเวอเรีย ระดับมากที่สุดโดยวิธีการสาธิต 5) เกษตรกรมีปัญหาด้านการผลิตขยาย สารชีวภัณฑ์ในประเด็นใช้เวลานานในการผลิตขยายก่อนนำมาใช้ระดับมากที่สุด และมีข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ในการผลิตข้าวในด้านการสนับสนุนระดับมากที่สุดในประเด็นควรแนะนำแหล่งจำหน่าย สารชีวภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือ และเข้าถึงง่ายให้กับเกษตรกร รองลงมามีข้อเสนอแนะด้านวิธีการส่งเสริมระดับมากที่สุด ในประเด็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมควรเข้ามาแนะนำ จัดอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องการใช้สารชีวภัณฑ์แก่เกษตรกรอย่างสม่ำเสมอ และมีข้อเสนอแนะด้านเนื้อหาความรู้ระดับมากที่สุดในประเด็นควรเน้นการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคนิคการใช้สารชีวภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectสารชีวภาพควบคุมศัตรูพืชth_TH
dc.subjectข้าว--โรคและศัตรูพืช--การควบคุมทางชีววิทยาth_TH
dc.subjectไตรโคเดอร์มาth_TH
dc.titleแนวทางการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ในการผลิตข้าวของเกษตรกรในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรีth_TH
dc.title.alternativeExtension guideline of biological substance utilization for rice production by farmers in Photharam District of Ratchaburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to analyze farmers' 1) personal, social, and economic conditions of farmers; 2) knowledge and utilization of biological substances; 3) motivation in the utilization of biological substances in rice production; 4) services received and needs for the extension in the use and production of biological substance; and 5) problems and suggestions in the extension guidelines for the utilization of biological substance.The population of this study was 3,622 rice production farmers who had registered as rice production farmers with the Department of Agricultural Extension in the production year 2021/2022. The sample size of 193 people was determined by using the Taro Yamane formula with an error value of 0.07 through a simple random sampling method by lotto picking. Data sets were collected by conducting interviews and were analyzed by using statistics such as frequency, percentage, maximum value, minimum value, mean, standard deviation, and ranking.The results of the research showed that 1) 51.3% of farmers were male with an average age of 56.25 years old, completed primary school education, had an average of 28.78 years experience in farming, received an average of 1.58 times of training per year about biological substances, received news regarding biological substances from officers, had an average rice production area of 16.59 Rai, had average agricultural labor of 2.49 members in the household, earned an average income of 7,807.96 Baht/Rai from rice production, and had an average rice production cost of 4,500.12 Baht/Rai; 2) 30.1% of farmers had a high-level knowledge about Trichoderma utilization, 33.7% had low-level knowledge about Beauveria bassian, 24.9% produced Trichoderma, 24.4% produced Beauveria bassian, 53.8% applied Trichoderma, and 52.8% applied Beauveria bassian; 3) Farmers highly agreed with the motivation in utilizing biological substances for production, cost reduction, and production effectiveness, and product pricing and marketing; 4) 56.3% of farmers received the extension in the application of Trichoderma and 52.3% received the extension in the application of Beauveria bassian . Most of the farmers received the extension through a home or rice field visitation. They wanted to receive an extension in the utilization of Trichoderma and Beauveria bassian at the highest level through a demonstration method; and 5) The most difficult problem farmers faced was regarding the production of biological substances because it took a long time to produce before its utilization. According to the farmers, the highest support needed was the suggestion about credible and easily accessible sources of biological substances. Second to that would be the extension method. The agricultural extension officer should come to suggest and organize regular knowledge transfer training about biological substances for farmers. Also, their recommendation was to have technical knowledge regarding the utilization of useful biological substances.en_US
dc.contributor.coadvisorสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริมth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons