กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12990
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ในการผลิตข้าวของเกษตรกรในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension guideline of biological substance utilization for rice production by farmers in Photharam District of Ratchaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ ภรณ์ทิพย์ สุจจิตร์จูล, 2536- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ สารชีวภาพควบคุมศัตรูพืช ข้าว--โรคและศัตรูพืช--การควบคุมทางชีววิทยา ไตรโคเดอร์มา |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพส่วนบุคคล สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้และการใช้สารชีวภัณฑ์ของเกษตรกร 3) สิ่งจูงใจในการใช้สารชีวภัณฑ์ในการปลูกข้าวของเกษตรกร 4) การได้รับการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการใช้และการผลิตสารชีวภัณฑ์ของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมใช้สารชีวภัณฑ์ของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษาคือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปีกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปีการเพาะปลูก 2564/65 จำนวน 3,622 ราย กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้จำนวน 193 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 51.3 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 56.25 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ประสบการณ์ในการทำการเกษตร 28.78 ปี เคยเข้ารับการฝึกอบรมที่เกี่ยวกับสารชีวภัณฑ์เฉลี่ย 1.58 ครั้ง/ปี มีการรับรู้ข่าวสารด้านสารชีวภัณฑ์จากเจ้าหน้าที่ พื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 16.59 ไร่ แรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 2.49 คน รายได้จากการทำนาเฉลี่ย 7,807.96 บาท/ไร่ ต้นทุนการทำนาเฉลี่ย 4,500.12 บาท/ไร่ 2) เกษตรกรร้อยละ 30.1 มีความรู้เกี่ยวกับเชื้อราไตรโคเดอร์มาระดับมาก ร้อยละ 33.7 ความรู้เกี่ยวกับเชื้อราบิวเวอเรียในระดับน้อย เกษตรกร ร้อยละ 24.9 มีการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา ร้อยละ 24.4 มีการผลิตเชื้อราบิเวอเรีย เกษตรกรร้อยละ 53.8 มีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และร้อยละ 52.8 มีการใช้เชื้อราบิเวอเรีย 3) เกษตรกรมีสิ่งจูงใจในระดับมากที่สุด คือ ในการใช้สารชีวภัณฑ์ด้านการลดต้นทุนการผลิต และด้านประสิทธิภาพการผลิต และในระดับมาก คือ ด้านราคาผลผลิตและการตลาด 4) เกษตรกรร้อยละ 56.3 ได้รับการส่งเสริมด้านการใช้เชื้อราไตรโคเตอร์มา และร้อยละ 52.3 ได้รับการส่งเสริมด้านการใช้เชื้อราบิวเวอเรีย โดยเกษตรกรส่วนมากได้รับการส่งเสริมผ่านการเยี่ยมเยียนที่บ้านหรือไร่นาเกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาและเชื้อราบิวเวอเรีย ระดับมากที่สุดโดยวิธีการสาธิต 5) เกษตรกรมีปัญหาด้านการผลิตขยาย สารชีวภัณฑ์ในประเด็นใช้เวลานานในการผลิตขยายก่อนนำมาใช้ระดับมากที่สุด และมีข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ในการผลิตข้าวในด้านการสนับสนุนระดับมากที่สุดในประเด็นควรแนะนำแหล่งจำหน่าย สารชีวภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือ และเข้าถึงง่ายให้กับเกษตรกร รองลงมามีข้อเสนอแนะด้านวิธีการส่งเสริมระดับมากที่สุด ในประเด็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมควรเข้ามาแนะนำ จัดอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องการใช้สารชีวภัณฑ์แก่เกษตรกรอย่างสม่ำเสมอ และมีข้อเสนอแนะด้านเนื้อหาความรู้ระดับมากที่สุดในประเด็นควรเน้นการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคนิคการใช้สารชีวภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12990 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.76 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License