Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12992
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | บุษบา สุธีธร | th_TH |
dc.contributor.author | ธนวัฒน์ ชาวเนิน, 2540- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2025-01-06T04:31:11Z | - |
dc.date.available | 2025-01-06T04:31:11Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12992 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (การบูรณาการการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการใช้ประโยชน์จากข่าวสารที่ปรากฏบนเฟซบุ๊กแฟนเพจของนักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษา 2) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเปิดรับข่าวสารจากเฟซบุ๊กแฟนเพจของสถาบันอาชีวศึกษา และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากข่าวสารที่ปรากฏบนเฟซบุ๊กแฟนเพจสถาบันอาชีวศึกษาของนักศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาของสถาบันอาชีวศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกใน 3 จังหวัด ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย จังหวัดระยอง วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และวิทยาลัยการอาชีพบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย วิเคราะห์สถิติการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า 1) นักศึกษามีระดับการใช้ประโยชน์จากเฟซบุ๊กแฟนเพจของสถาบันในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยนักศึกษาใช้ประโยชน์เพื่อตอบสนองความต้องการรู้เหตุการณ์มากกว่าด้านอื่น รองลงมาคือ ด้านการใช้ประโยชน์เพื่อตอบสนองความต้องการช่วยตัดสินใจ 2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อข่าวสารที่ปรากฏบนเฟซบุ๊กแฟนเพจของนักศึกษาโดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยพึงพอใจประเภทข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ภายในสถาบันอาชีวศึกษามากกว่าข่าวสารด้านอื่น ๆ รองลงมาคือ ข่าวสารเกี่ยวกับความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีระหว่างสถาบันอาชีวศึกษากับสถานประกอบการในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 3) นักศึกษาที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีระดับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อข่าวสารประเภทต่าง ๆ จากเฟซบุ๊กไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้ระดับการใช้ประโยชน์จากเฟซบุ๊กของนักศึกษามีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจข่าวสารของนักศึกษาในเชิงบวก และมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบูรณาการการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | การสื่อสารในอาชีวศึกษา | th_TH |
dc.subject | เฟซบุ๊ก--ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ | th_TH |
dc.title | การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของนักศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษา ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจของสถาบัน | th_TH |
dc.title.alternative | Uses and gratification of the vocational institutes’ students in the Eastern Economic Corridor Regarding the Institutes’ Public Relations Practices on Facebook fanpages | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (การบูรณาการการสื่อสาร) | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชานิเทศศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to study 1) vocational institute students’ level of usage of news and information posted on their institute’s Facebook fanpages; 2) their level of satisfaction with exposure to their institute’s Facebook fanpages; and 3) the relationship between usage of and satisfaction with news and information on vocational institutes’ Facebook fanpages of students at vocational institutes in the Eastern Economic Corridor region.This was a survey research. The sample population, chosen through multi-level sampling, consisted of 400 students at 3 vocational institutes in the Eastern Economic Corridor region- Bankhai Technical College in Rayong Province, Thai Technical College in Sattahip District, Chonburi Province, and Bangpakong Industrial and Community Education College in Chachoengsao Province. Data were collected through a questionnaire and statistically analyzed to find frequency, percentage and mean. Means were compared with t-test, ANOVA and Pearson’s correlated coefficient.The results showed that 1) most students used the institutes’ fanpages to a high level for every aspect surveyed. They utilized them mainly because they wanted to keep abreast of events and developments the most, followed by using them to help make decisions. 2) Overall, most students had a high level of satisfaction with every kind of news and information on their institute’s fanpage, and they were the most satisfied on average with the news about intramural activities, followed by news about educational collaboration and allied educational activities between vocational institutions and business enterprises in the Eastern Economic Corridor. 3) Students of different gender, age, and educational level were not observed to have differences in their levels of utilization or satisfaction with their institute’s Facebook fanpages. There was a medium-level positive correlation between students’ utilization of the fanpages and their satisfaction with the fanpages. | en_US |
dc.contributor.coadvisor | เสาวนี ชินนาลอง | th_TH |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 22.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License