กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12992
ชื่อเรื่อง: | การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของนักศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษา ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจของสถาบัน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Uses and gratification of the vocational institutes’ students in the Eastern Economic Corridor Regarding the Institutes’ Public Relations Practices on Facebook fanpages |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บุษบา สุธีธร ธนวัฒน์ ชาวเนิน, 2540- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เสาวนี ชินนาลอง |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบูรณาการการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์ การสื่อสารในอาชีวศึกษา เฟซบุ๊ก--ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการใช้ประโยชน์จากข่าวสารที่ปรากฏบนเฟซบุ๊กแฟนเพจของนักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษา 2) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเปิดรับข่าวสารจากเฟซบุ๊กแฟนเพจของสถาบันอาชีวศึกษา และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากข่าวสารที่ปรากฏบนเฟซบุ๊กแฟนเพจสถาบันอาชีวศึกษาของนักศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาของสถาบันอาชีวศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกใน 3 จังหวัด ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย จังหวัดระยอง วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และวิทยาลัยการอาชีพบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย วิเคราะห์สถิติการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า 1) นักศึกษามีระดับการใช้ประโยชน์จากเฟซบุ๊กแฟนเพจของสถาบันในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยนักศึกษาใช้ประโยชน์เพื่อตอบสนองความต้องการรู้เหตุการณ์มากกว่าด้านอื่น รองลงมาคือ ด้านการใช้ประโยชน์เพื่อตอบสนองความต้องการช่วยตัดสินใจ 2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อข่าวสารที่ปรากฏบนเฟซบุ๊กแฟนเพจของนักศึกษาโดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยพึงพอใจประเภทข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ภายในสถาบันอาชีวศึกษามากกว่าข่าวสารด้านอื่น ๆ รองลงมาคือ ข่าวสารเกี่ยวกับความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีระหว่างสถาบันอาชีวศึกษากับสถานประกอบการในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 3) นักศึกษาที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีระดับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อข่าวสารประเภทต่าง ๆ จากเฟซบุ๊กไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้ระดับการใช้ประโยชน์จากเฟซบุ๊กของนักศึกษามีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจข่าวสารของนักศึกษาในเชิงบวก และมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (การบูรณาการการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12992 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 22.02 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License