กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13005
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การเขียนโปรแกรมโดยใช้โปรแกรมสแครช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในกลุ่มเสอเพลอผาสุก จังหวัดอุดรธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of an electronic book in the Science and Technology Learning Area on the Topic of Program Writing with the Use of Scratch Program for Grade 5 students of schools in Serphler Phasuk School Cluster in Udon Thani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรางคณา โตโพธิ์ไทย รัตนาพร ก้อนคำ, 2532- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี สแครช (ภาษาคอมพิวเตอร์)--การเขียนโปรแกรม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์--การผลิต การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การเขียนโปรแกรมโดยใช้โปรแกรมสแครช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมโดยใช้โปรแกรมสแครช และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมโดยใช้โปรแกรมสแครช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านสงเปลือยดงสามสิบ จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัย คือ (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องการเขียนโปรแกรมโดยใช้โปรแกรมสแครช (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การเขียนโปรแกรมโดยใช้โปรแกรมสแครช สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การเขียนโปรแกรมโดยใช้โปรแกรมสแครช มีประสิทธิภาพ 79.35/80.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การเขียนโปรแกรมโดยใช้โปรแกรมสแครช มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การเขียนโปรแกรมโดยใช้โปรแกรมสแครช มีความคิดเห็นในภาพรวมว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการเขียนโปรแกรมโดยใช้โปรแกรมสแครช มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13005 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 28.93 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License