Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13006
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินดา ขลิบทองth_TH
dc.contributor.authorจิราภรณ์ หล้าดวงดี, 2529-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2025-01-08T05:56:42Z-
dc.date.available2025-01-08T05:56:42Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13006en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร ตำบลหนองแวงโสกพระ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น (2) สภาพการผลิตผักของเกษตรกร (3) ปัญหาในการผลิตผักของเกษตรกร (4) ความต้องการและแนวทางส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ สมาชิกของกลุ่มผู้ปลูกผัก ตำบลหนองแวงโสกพระ อำเภอพลจังหวัดขอนแก่น ที่จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนกับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 273 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 163 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบง่ายโดยการจับสลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับผลการศึกษา พบว่า (1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 56.66 ปี รายได้รวมในการผลิตผักเฉลี่ย 8,095.58 บาทต่อปี มีพื้นที่ทำการผลิตผักเฉลี่ย 1.78 งาน (2) เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตให้ผู้บริโภคโดยตรงในท้องถิ่น ตัดสินใจผลิตผักปลอดภัยเพื่อสุขภาพอนามัย ส่วนใหญ่ปลูกผักตามปฏิทินที่กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำเกษตรกรมีการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ระดับมากที่สุดในด้านการจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว ด้านการพักผลิตผล การขนย้ายในแปลงปลูกและการเก็บรักษา ด้านพื้นที่ปลูกด้านน้ำ ด้านวัตถุอันตรายทางการเกษตร ด้านสุขลักษณะส่วนบุคคล ด้านการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและระดับน้อยที่สุดในด้านบันทึกข้อมูลและการตามสอบ (3) เกษตรกรมีปัญหาในระดับมากเรื่อง แหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร (4) เกษตรกรมีความต้องการความรู้เกี่ยวกับการผลิตผักปลอดภัย ผ่านสื่อบุคคลจากส่วนราชการ แผ่นพับคู่มือและอินเตอร์เน็ต โดยวิธีการฝึกปฏิบัติ สาธิต และบรรยาย เกษตรกรต้องการการให้บริการและการสนับสนุนระดับมากในเรื่องการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ดี การให้คำแนะนำต่อเนื่อง อบรมให้ความรู้เพิ่มเติม ดังนั้น แนวทางการส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกรคือ ส่งเสริมด้านความรู้ในเรื่องการผลิตผักปลอดภัย และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) เน้นเรื่องการบันทึกข้อมูล การเก็บเกี่ยว ด้านปัจจัยการผลิต ด้านการตลาด โดยเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการเยี่ยมเยียน ให้คำแนะนำ อบรมให้ความรู้เรื่องการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง วิธีการให้น้ำที่เหมาะสม พร้อมเอกสารแผ่นพับ คู่มือ โดยใช้วิธีการฝึกปฏิบัติ สาธิต บรรยายให้ความรู้ รวมทั้งใช้สื่ออินเตอร์เน็ต มีการจัดหาแหล่งรับซื้อผลผลิต ใช้ปฏิทินการปลูกพืชช่วยในการวางแผนการผลิตth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectผัก--การผลิต.--ไทย--ขอนแก่นth_TH
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตร--ไทย--ขอนแก่นth_TH
dc.titleแนวทางการส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกร ตำบลหนองแวงโสกพระ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่นth_TH
dc.title.alternativeExtension guidelines for safety vegetable production of farmer in Nong Waeng Sok Phra sub-district, Phon District, Khonkaen Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study (1) general information of farmers (2) vegetable production conditions of farmers (3) problems in vegetable production of farmers (4) needs and extension guidelines in safety vegetable production of farmers. The population was 273 members of vegetable growers group in Nong Waeng Sok Phra sub-district, Phon district, Khonkaen Province. The sample size of 163 people was determined by using Taro Yamane formula and random by simple random sampling method by using lotto. Data was collected by conducting interview and was analyzed by using statistics value such as frequency, percentage, minimum value, maximum value, standard deviation, and ranking.The results of the study stated that (1) most of the farmers were female with the average age of 56.66 years. Their average total income from vegetable production was 8,095.58 Baht per year with the average area for vegetable production of 7.12 m2. (2) Farmers produced the product directly to the local consumers. They decided to grow safety vegetable for good health and mostly follow production calendar that the agricultural extension department recommended. Farmers followed standard practices according to Good Agricultural Practice (GAP) at the highest level in quality management in the production process prior to the harvest aspect, product restoration aspect, the transport within the crop and the maintenance aspect, crop area aspect, water aspect, agricultural hazardous substance aspect, personal hygiene aspect, harvest and post harvest aspect. The lowest level would be in the aspect of data recording and following up. (3) Farmers faced with the problem at the high level in the water resource in agriculture. (4) Farmers needed to receive knowledge about safety vegetable production through personal media from government sector, brochure, manual, and internet by practice, demonstration, and lecture. Farmers needed to receive services and support at the high level in the aspect of supporting good seeds, continuous guidance, and training for additional knowledge. The extension guideline in safety vegetable production of farmers included knowledge extension in GAP. The focus would be on data recording and harvest. In regards to the production factor, marketing aspects by visitation from government agency officers so that they can give suggestions, training about seedling self-storage, appropriate watering with documents, brochure, manual by practice, demonstration, lecture, along with internet media, distribution resource finding, plant production calendar in assisting the production planning.en_US
dc.contributor.coadvisorเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.31 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons