กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13006
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกร ตำบลหนองแวงโสกพระ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension guidelines for safety vegetable production of farmer in Nong Waeng Sok Phra sub-district, Phon District, Khonkaen Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จินดา ขลิบทอง จิราภรณ์ หล้าดวงดี, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ผัก--การผลิต.--ไทย--ขอนแก่น การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--ขอนแก่น |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร ตำบลหนองแวงโสกพระ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น (2) สภาพการผลิตผักของเกษตรกร (3) ปัญหาในการผลิตผักของเกษตรกร (4) ความต้องการและแนวทางส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ สมาชิกของกลุ่มผู้ปลูกผัก ตำบลหนองแวงโสกพระ อำเภอพลจังหวัดขอนแก่น ที่จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนกับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 273 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 163 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบง่ายโดยการจับสลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับผลการศึกษา พบว่า (1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 56.66 ปี รายได้รวมในการผลิตผักเฉลี่ย 8,095.58 บาทต่อปี มีพื้นที่ทำการผลิตผักเฉลี่ย 1.78 งาน (2) เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตให้ผู้บริโภคโดยตรงในท้องถิ่น ตัดสินใจผลิตผักปลอดภัยเพื่อสุขภาพอนามัย ส่วนใหญ่ปลูกผักตามปฏิทินที่กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำเกษตรกรมีการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ระดับมากที่สุดในด้านการจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว ด้านการพักผลิตผล การขนย้ายในแปลงปลูกและการเก็บรักษา ด้านพื้นที่ปลูกด้านน้ำ ด้านวัตถุอันตรายทางการเกษตร ด้านสุขลักษณะส่วนบุคคล ด้านการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและระดับน้อยที่สุดในด้านบันทึกข้อมูลและการตามสอบ (3) เกษตรกรมีปัญหาในระดับมากเรื่อง แหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร (4) เกษตรกรมีความต้องการความรู้เกี่ยวกับการผลิตผักปลอดภัย ผ่านสื่อบุคคลจากส่วนราชการ แผ่นพับคู่มือและอินเตอร์เน็ต โดยวิธีการฝึกปฏิบัติ สาธิต และบรรยาย เกษตรกรต้องการการให้บริการและการสนับสนุนระดับมากในเรื่องการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ดี การให้คำแนะนำต่อเนื่อง อบรมให้ความรู้เพิ่มเติม ดังนั้น แนวทางการส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกรคือ ส่งเสริมด้านความรู้ในเรื่องการผลิตผักปลอดภัย และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) เน้นเรื่องการบันทึกข้อมูล การเก็บเกี่ยว ด้านปัจจัยการผลิต ด้านการตลาด โดยเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการเยี่ยมเยียน ให้คำแนะนำ อบรมให้ความรู้เรื่องการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง วิธีการให้น้ำที่เหมาะสม พร้อมเอกสารแผ่นพับ คู่มือ โดยใช้วิธีการฝึกปฏิบัติ สาธิต บรรยายให้ความรู้ รวมทั้งใช้สื่ออินเตอร์เน็ต มีการจัดหาแหล่งรับซื้อผลผลิต ใช้ปฏิทินการปลูกพืชช่วยในการวางแผนการผลิต |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13006 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.31 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License