Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13012
Title: | การสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัลและคุณค่าตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหาร ที่มีสาขาในห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Digital marketing communication and brand equity affecting the decision process in choosing restaurant with branches in department store, Bangkok |
Authors: | วิศนันท์ อุปรมัย ธัชกร หาญกิติวัธน์, 2535- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เสาวภา มีถาวรกุล |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการธุรกิจและการบริการ--วิทยานิพนธ์ การสื่อสารทางการตลาด การสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพทั่วไปกับกระบวนการการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารที่มีสาขาในห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร (2) ระดับความสำคัญของการสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัล ที่มีต่อกระบวนการการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารที่มีสาขาในห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร (3) ระดับความสำคัญของคุณค่าตราสินค้า ที่มีต่อกระบวนการการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารที่มีสาขาในห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร (4) อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัล ที่มีต่อกระบวนการการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารที่มีสาขาในห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร (5) อิทธิพลของคุณค่าตราสินค้า ที่มีต่อกระบวนการการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารที่มีสาขาในห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพ ที่เคยใช้บริการร้านอาหารไทยที่มีสาขาในห้างสรรพสินค้า ภายในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยอ้างอิงจากสูตรของ W.G. Cochran ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา และทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยด้านสถานภาพทั่วไปที่มีความสัมพันธ์ต่อกระบวนการการตัดสินใจเลือกใช้บริการทั้งหมด 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านเพศ และ ระดับการศึกษาสูงสุด อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 (2) ระดับความสำคัญของการสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัล ที่มีต่อกระบวนการการตัดสินใจเลือกใช้บริการอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ตัวแปร อันดับแรก คือการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์ ลำดับถัดไป คือ การทำการตลาดแบบปากต่อปาก การทำการตลาดผ่านเครื่องมือค้นหา และการทำการตลาดผ่านผู้มีอิทธิพล ตามลำดับ (3) ระดับความสำคัญของคุณค่าตราสินค้า ที่มีต่อกระบวนการการตัดสินใจเลือกใช้บริการอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ตัวแปร อันดับแรกคือ การรับรู้ตราสินค้า ลำดับถัดไปคือ คุณภาพที่ถูกรับรู้ การเชื่อมโยงตราสินค้า และการทำความภักดีต่อตราสินค้า ตามลำดับ (4) อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัล ที่มีต่อกระบวนการการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารที่มีสาขาในห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร คือ การตลาดผ่านผู้ที่มีอิทธิพล การตลาดแบบปากต่อปาก และการตลาดผ่านเครื่องมือค้นหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (5) อิทธิพลของคุณค่าตราสินค้าที่มีต่อกระบวนการการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารที่มีสาขาในห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร คือ การเชื่อมโยงตราสินค้า ความภักดีต่อตราสินค้า และคุณภาพที่ถูกรับรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (การจัดการธุรกิจและการบริการ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13012 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 27.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License